คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน ปี พ.ศ. 2564-2568 (ASEAN Work Plan on Education 2021-2025) และให้ความเห็นชอบผลผลิตที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพ/เจ้าภาพร่วม พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้การอนุมัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอีก
สาระสำคัญ
ร่างแผนงาน ประกอบด้วย 5 ผลลัพธ์ และ 12 ผลิต โดยผลลัพธ์ และผลผลิตที่ไทยรับเป็นเจ้าภาพ/เจ้าภาพร่วม สรุปได้
ผลลัพธ์ 1.การพัฒนาด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียน รวมถึงแนวปฏิบัติด้านการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น และรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลผลิต
1.1 การปรับปรุงความรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านหลักสูตรของโรงเรียนและการรณรงค์ผ่านสื่อประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับสิงคโปร์และมาเลเซีย
1.2 การส่งเสริมทักษะในการปรับตัวสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของครูและนักเรียน รวมทั้งแนวปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการศึกษา
กิจกรรม
1.พัฒนาแนวทางและเครื่องมือเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหลักสูตรอาเซียนศึกษา ฯ
2. อำนวยความสะดวกในการบูรณาการเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ากับกิจกรรม บทเรียนและหลักสูตรต่างๆ ของโรงเรียน ให้สอดคล้องกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลลัพธ์ 2. การเพิ่มขีดความสามารถในระดับภูมิภาคในการส่งเสริมและการประกันการเข้าถึงการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ อย่างมีคุณภาพตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเด็กและเยาชนที่ตกหล่น
ผลผลิต
2.1 การกำหนดนโยบายความร่วมมือและกลไกการตรวจสอบในระดับภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงการดูและและการศึกษาเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ ความพร้อมของโรงเรียนและการบริการด้านการดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัยที่ครอบคลุม
2.2 การพัฒนานโยบายการศึกษาในระดับภูมิภาคและระดับชาติและขีดความสามารถทางเทคนิคเพื่อประกันและสร้างโอกาสการเรียนรู้ รวมถึงเด็กและเยาวชนที่ตกหล่น
(ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประเทศเดียว)
กิจกรรม
1.ส่งเสริมการเข้าถึงและมาตรฐานคุณภาพของการดูแลเด็กปฐมวัย การพัฒนาและการศึกษาที่ดีขึ้น รวมถึงการประกันความเสมอภาคทางเพศเพื่อการรับมือกับศตวรรษที่ 21 และการตอบสนองต่อผลกระทบของภาวะวิกฤตต่างๆ
2. สนับสนุนการพัฒนากรอบการเทียบวุฒิการศึกษาขั้นพื้นฐานของอาเซียน
ผลลัพธ์ 3.การเพิ่มขีดความสามารถในระดับภูมิภาคด้านการอุดมศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมถึงการสร้างความกลมกลืนด้านการอุดมศึกษาในอาเซียน
ผลผลิต
3.1 การเสริมสร้างบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัยที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์หลากสาขาและข้ามพรมแดน
3.2 การเสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการสร้างความกลมกลืนด้านการอุดมศึกษาผ่านยุทธศาสตร์และกลไกต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทุนการศึกษา
กิจกรรม
1.จัดเวทีด้านนโยบายเพื่อประสานข้อริเริ่ม ติดตามความสำเร็จระดับภูมิภาค อุปสรรค และกำหนดทิศทางในการเข้าถึงการอุดมศึกษา รวมถึงการใช้วิธีการ การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล
2.จัดการประชุมหารือเชิงนโยบายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายด้านการอุดมศึกษาของอาเซียน
ผลลัพธ์ 4.การส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป
ผลผลิต
4.1 การส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระดับภูมิภาคในประเด็นที่เกี่ยวกับระบบการจัดการและการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา
(ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับฟิลิปปินส์)
4.2 การนำภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการศึกษาและการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษาทั้งในด้านการวางแผน การพัฒนาโครงการการดำเนินงาน และการระดมทรัพยากร (ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับบูรไนดารุสซาลาม)
4.3การปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาและฝึกอบรมด้านเทคนิค และการอาชีวศึกษาผ่านการประกันคุณภาพการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากร นวัตกรรม และการเคลื่อนย้ายแรงงานสำหรับความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป (ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับบูรไนดารุสซาลาม)
กิจกรรม
1. ส่งเสริมการพัฒนาการวิจัยและความรู้เกี่ยวกับการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม รวมถึงการวิเคราะห์ ความต้องการของตลาดแรงงานและทักษะที่ต้องการในระดับประเทศ
2.เพิ่มและปรับปรุงคุณภาพของการฝึกงานครูและผู้ฝึกสอนในบริษัท เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์และการถ่ายทอดทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม
3. ประกันคุณภาพด้านการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมผ่านความเป็นผู้นำ การแลกเปลี่ยนระดับภูมิภาคและทรัพยากรเพื่อสนับสนุนกลไกการประกันคุณภาพ รวมถึงการส่งเสริมการทำให้เกิดความครอบคลุมสำหรับแรงงานชายหญิงในโครงการเคลื่อนย้ายและการฝึกงานข้ามพรมแดน
ผลลัพธ์ 5. การดำเนินการตามแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับปรุงการประสานงาน การจัดการความรู้และระบบติดตามและประเมินผล
ผลผลิต
5.1 การเสริมสร้างการประสานโครงการด้านการศึกษาในระดับภูมิภาคและการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 ระบบการจัดการความรู้และระบบการติดตามและประเมินผลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานจามแผนงานด้านการศึกษาของอาเซียน
กิจกรรม
1.ริเริ่มการหารือเชิงนโยบายและทางเทคนิคเกี่ยวกับการจัดทำโครงการด้านการศึกษาของอาเวียนและข้อเสนอแนะต่อโครงการ
2.การออกแบบระบบเพื่อติดตามการดำเนินงานตามแผนงานด้านการศึกษาของอาเวียนและประเมินผล
เบื้องต้น ร่างแผนงาน ฯ นำเสนอต่อที่ประชุม SOM-ED เพื่อให้ความเห็นชอบ (endorsement) ระหว่างวันที่ 15-26 มีนาคม 2564 และนำเสนอต่อที่ประชุม ASED เพื่ออนุมัติ (Approval) ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 12 เมษายน 2564 ซึ่ง ศธ. ประสานขอเลื่อนส่งเอกสาร ฯ กับสำนักเลขาธิการอาเวียนเป็นวันที่ 23 เมษายน 2564
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 เมษายน 2564