จากกรณีที่มีข่าวนักเรียนชั้น ม.3 ของโรงเรียน ภูเก็ตวิทยาลัย ถูกตัดสิทธิ์การเรียนต่อชั้น ม.4 ด้วยเหตุผล “ไม่จงรักภักดีต่อชาติและสถาบันกษัตริย์”
เด็กนักเรียนชั้น ม.3 ถูกตัดโควตาการศึกษาต่อชั้น ม.4 เพราะ “ไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน”
ล่าสุด นักเรียนและศิษย์เก่าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยได้ออกแถลงการณ์ เรื่องข้อเรียกร้องต่อกรณีการพิจารณาโควตาเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยระบุว่า
ตามที่ได้ปรากฎต่อสาธารณชนอย่างแพร่หลายถึงกรณีที่กลุ่มบริหารกิจการนักเรียน โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยได้มีบันทึกข้อความ ฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม 2564 เรื่องรายชื่อนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ที่ตัดโควตาเข้าศึกษาต่อระดับ ม.4 ส่วนราชการโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย เรียนถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย โดยบันทึกข้อความดังกล่าวได้ปรากฎรายชื่อของนักเรียนที่กลุ่มบริหารกิจการนักเรียนเสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยเพื่อตัดสิทธิในการใช้โควตาศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยปรากฎเหตุผลที่ใช้ในการตัดสิทธิประการหนึ่งว่า “ไม่จงรักภักดีชาติ สถาบันกษัตริย์”
นักเรียนและศิษย์เก่าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยตามรายนามท้ายแถลงการณ์ เห็นว่าเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิมนุษยชนที่ยอมรับร่วมกันระหว่างประเทศ และได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาาณาจักรไทย อีกครั้ง สิทธิในการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญที่บุคคลทุกคนจะต้องได้รับอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กพ.ศ.2545 กำหนดให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนและพัฒนา โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ
ตรีนุช ชี้แจงแล้ว! กรณีนักเรียน.ม.3ไม่ได้เรียนต่อม.4 เพราะไม่รักสถาบัน ย้ำโรงเรียนไม่ได้ตัดสิทธิ์ศึกษาต่อ
การพิจารณาคุณสมบัติของนักเรียนที่มีสิทธิ์สมัครของโควตาศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้มีอำนาจต้องพึงระลึกเสมอว่าการใช้ดุลพินิจดังกล่าวย่อมส่งผลต่อโอกาสในการศึกษาของนักเรียนผู้สมัคร ดังนั้น ผู้พิจารณาจำต้องใช้ดุลยพินิจโดยระมัดระวัง คำนึงถึงความได้สัดส่วนระหว่างข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับการจำกัดสิทธินักเรียนผู้สมัคร และในการตีความว่าเหตุใดจึงถือเป็นกรณีที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติจะต้องตีความอย่างเคร่งครัด โดยมิให้กระทบต่อโอกาสในการศึกษาของนักเรียนผู้สมัครมากจนเกินสมควรแก่เหตุ
ทวิตเดือด! โรงเรียนดังย่านบางกระบือ เชิญนักเรียนออก อ้างเหตุผล ไม่รักสถาบัน
นักเรียนและศิษย์เก่าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยตามรายนามท้ายแถลงการณ์ขอเรียกร้องต่อโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยดังนี้
1.ยกเลิกการพิจารณานักเรียนผู้มีสิทธิ์ได้รับโควตาเรียนต่อทุกระดับชั้นโดยใช้เหตุผลเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และการแสดงออกอื่นใดบนพื้นฐานของการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
2.ทบทวนและพิจารณาแก้ไขบันทึกข้อความ ฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม 2564 ดังกล่าวข้างต้น มีให้นำเหตุผลเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หรือการแสดงออกอื่นใดของการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น มาใช้ในการพิจารณาตัดสิทธิโควตาในการเรียนต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และการใช้ดุลพินิจพิจารณาการตัดสิทธิดังกล่าวจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง พอสมควรแก่เหตุ และตีความอย่างเคร่งครัด
3.โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยควรส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพและพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การแสดงออกอื่นใดบนพื้นฐานของการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นรวมถึงการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองของประเทศ มิใช่แต่เพียงผู้ใหญ่เท่านั้น ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออกด้วยอีกประการหนึ่ง
ภายใต้สังคมประชาธิปไตย การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นย่อมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยสร้างสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ สังคมที่เคารพความคิดเห็นของผู้อื่นย่อมสะท้อนให้เห็นความคิดว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน อีกทั้งโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักเรียนจะต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงออกทางความคิด ไม่ว่าในทิศทางใดก็ตาม หากมีความคิดหรือการแสดงออกใดไม่พึงประสงค์ โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัยควรต้องใช้เหตุผลในการพูดคุยขัดเกลานักเรียน ยิ่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างและต่อต้านมากเท่าใด โรงเรียนภูเก็ตยิ่งต้องใช้ความอดทนอดกลั้นและใช้เหตุผลที่เปี่ยมไปด้วยความเหตุและผล ในการพูดคุยกับนักเรียนให้บรรลุซึ่งแนวทางที่พึงประสงค์มากเท่านั้น
#ภูเก็ตวิทยาลัย #นักเรียน #ภูเก็ต