“นิพนธ์” เป็นประธานเปิดประชุม เวทีวิจัยพัฒนาศักยภาพมรดกทางวัฒนธรรม 4 ภูมิภาคพร้อมขับเคลื่อนใน 3 รูปแบบเมืองเก่า-เมืองสร้างสรรค์-เมืองท่องเที่ยว สร้างมิติทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพิ่มความเข้มแข็งและรองรับการเปลี่ยนแปลง
พฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 15.14 น.
เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่ห้องประชุมแดนนา (CANNA) โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กทม. นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย (มท.2) เป็นประธานเปิดการประชุมพิจารณากรอบงานวิจัยเพื่อนิพนธ์ เปิดเวทีวิจัย พัฒนาศักยภาพมรดกทางวัฒนธรรม 4 ภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนใน 3 รูปแบบเมืองเก่า-เมืองสร้างสรรค์-เมืองท่องเที่ยว สร้างมิติทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพิ่มความเข้มแข็งและรองรับการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของมรดกทางวัฒนธรรมให้รองรับการท่องเที่ยวบนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระยะ 5 ปี โดยมี ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้อำนวยการภารกิจการจัดทำแผนงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย รศ.ชูวิทย์ สุจฉายา ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกวัฒนธรรมทั้ง 4 ภูมิภาค เข้าร่วมการประชุมฯ ในการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
นายนิพนธ์ กล่าวว่า การประชุมพิจารณากรอบงานวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของมรดกทางวัฒนธรรม งานวิจัยนี้เป็นงานทางด้านวิชาการ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือในการทำงานโดยมีฐานคิดการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายการดำเนินงานในพื้นที่มรดกวัฒนธรรมทั่วประเทศถือเป็นความร่วมมือในการขับเคลื่อนแนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพของแหล่งมรดกวัฒนธรรมในรูปแบบเมืองเก่า เมืองสร้างสรรค์ เมืองท่องเที่ยว เพื่อการพัฒนาในมิติด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และการสร้างคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม รวมไปถึงแหล่งที่กำลังเตรียมการเข้าสู่การนำเสนอเป็นมรดกโลกของประเทศไทย โดยมุ่งเป้าแหล่งที่มีศักยภาพในระดับชาติและในระดับสากล โดยผสมผสานร่วมกับแนวคิดในสถานการณ์โควิด-19 จึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมกันกำหนดกรอบการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพของมรดกทางวัฒนรรมให้รองรับการท่องเที่ยวบนแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระยะ 5 ปี.
คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่
-
เห็นด้วย
0%
-
ไม่เห็นด้วย
0%