นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ประธานคณะกรรมการโรคติตต่อจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ออกประกาศอนุญาตให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนแบบเต็มรูปแบบ พร้อมรายชื่อโรงเรียนแนบท้ายประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์ มีใจความดังนี้
เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 33)
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์ ฉบับที่ 27 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2564
ให้โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษางตการจัดการเรียนการสอนแบบ Onsite ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่
31 สิงหาคม 2564 นั้น
เนื่องจากสถานกรณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ในบางพื้นที่มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อลดลงและเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังทวัดอุตรดิตถ์ในคราวประชุม ครั้งที่ 39/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2564 ได้มีการพิจารณาความพร้อมของสถานศึกษา เพื่อพิจารณาการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่
ดังนั้น เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกแห่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID – 19) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2579 ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2564
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์จึงกำหนดมาตรการและแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกแห่ง ดังนี้
ข้อ 1 คำว่าโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาในประกาศฉบับนี้หมายรวมถึง โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก-อุตรดิตถ์(จังหวัดอุตรดิตถ์)โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานการอาชีวศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์
สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาเอกชน หรือสถาบันการศึกษาอื่นๆที่มีลักษณะเดียวกัน สถาบันกวดวิชา หรือโรงเรียนกวดวิชาที่ได้รับใบอนุญาตหรือยังมิได้รับใบอนุญาตทุกแห่งในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
ข้อ 2 มาตรการสำหรับโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา กรณีที่ผ่านการตรวจประเมินความพร้อม ตามเกณฑ์การประเมินที่ทางราชการกำหนด และผ่านการพิจารณาความเห็นชอยจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์แล้วให้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ n-site (เรียนในห้องเรียน)ได้ โดยโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาจะต้องจัดให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด DMHTTA อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ให้โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาตามบัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
ข้อ 3 มาตรการสำหรับโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษานอกจากข้อ 1 ให้งดทำการเรียนการสอน
แบบ Onsite จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น โดยให้พิจารณาจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่เหมาะสม อาทิเช่น เรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (On-line) เรียนผ่านช่อง DLTV (KU-BAND) (On-air) เรียนผ่านแอพพลิเคชัน (On-demand) หรือเรียนที่บ้านโดยหนังสือเรียนแบบฝึกหัด (On-hand
ข้อ 4 มาตรการสำหรับการติดตาม กำกับดูแล ประเมินผล และบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคให้ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ(ศปก.อ.) ประสานการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และเพิ่มความเข้มงวดในการเข้าตรวจสอบการปฏิบัติหรือการดำเนินการของบุคคล สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ
รวมทั้งมาตรการ ป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ในกรณีที่พบผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตามให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามประกาศ หรือคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์ย่อมมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ/หรือความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2548
เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าาไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม ฟ.ศ. 2564
(นายผล ดำธรรม)
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์
ประธานคณะกรรมการโรคติตต่อจังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดอุตรดิตถ์
ทั้งนี้ บัญชีรายชื่อโรงเรียนหรือสถบันการศึกษาที่เปิดจัดการเรียนการสอนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
แนบท้ายประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์ ฉบับที่ 33 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2564
1.โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอท่าปลา จำนวน 15 แห่ง
(1) โรงเรียนท่าแฝกอนุสรณ์ 2
(2) โรงเรียนชุมชนผาเลือดวิทยาคาร
(3) โรงเรียนนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่านสงเคราะห์ 1
(4) โรงเรียนนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่านสงเคราะห์ 2
(5) โรงเรียนบ้านย่านดู่
(6) โรงเรียนบ้านซำบ้อ
(7) โรงเรียนบ้านน้ำสี
(8.) โรงเรียนบ้านน้ำต๊ะ
(9) โรงเรียนนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่านสงเคราะห์ 5
(10) โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ศึกษา
(11) โรงเรียนอนุบาลท่าปลา (ชุมชนร่วมจิต)
(12) โรงเรียนบ้านน้ำหมัน
(13) โรงเรียนบ้านวังหัวดอย
(14) โรงเรียนบ้านนาต้นโพธิ์
(15) โรงเรียนจริมอนุสรณ์ 1
2. โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอน้ำปาด จำนวน 6 แห่ง
(1) โรงเรียนบ้านนาผักฮาด
(2) โรงเรียนบ้านโป้งพาน
(3) โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง
(4) โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง
(5) โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 13
(6) โรงเรียนป่ากั้งวิทยา
3.โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอฟากท่า จำนวน 8 แห่ง
(1) โรงเรียนวัดโพธิ์ชัย
(2) โรงเรียนวัดปากไพร
(3) โรงเรียนบ้านนาไพร
(4) โรงเรียนวัดวังกอง
(5) โรงเรียนบ้านห้วยสูน
(6) โรงเรียนชุมชนวัดมหาธาตุ
(7) โรงเรียนบ้านห้วยลึก
(8.) โรงเรียนบ้านนาแซง
4.โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอบ้านโคก จำนวน 14 แห่ง
(1) โรงเรียนบ้านปางคอม
(2) โรงเรียนบ้านบ่อเบี้ย
(3) โรงเรียนบ้านห้วยครั่ง
(4) โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 106
(5) โรงเรียนชด.ศึกษาสงเคราะห์ 1
(6) โรงเรียนน้ำลัดสามัคคี
(7) โรงเรียนวัดนาขุม
(8.) โรงเรียนบ้านม่วงชุม
(9) โรงเรียนวัดวังสัมพันธ์
(10) โรงเรียนบ้านน้ำแพ
(11) โรงเรียนวัดจอมแจ้ง
(12) โรงเรียนบ้านห้วยยาง
(13) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบุญธรรม-บุญพริ้ง
(14) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยอดโพธิ์ทอง 1
ดูรายละเอียดเอกสารประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอุตรดิตถ์