Website Sponsored

Interviewอีกนานแค่ไหน นักบินถึงจะได้กลับไปชมท้องฟ้า

Website Sponsored
Website Sponsored

“นักบิน” อาชีพในฝันของหลายคน ต้องเจอฝันร้ายไม่ต่างจากหลายอาชีพในช่วงโควิด-19 ระบาด กัปตันปิยะ ตรีกาลนนท์ ซีอีโอ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอซี ก็เช่นกัน และยิ่งไปกว่านั้นกัปตันปิยะ ซึ่งเคยรับราชการในกองทัพอากาศ เป็นนักบินพระที่นั่ง นักบินไทยแอร์เอเชีย แต่ปัจจุบันพลิกบทบาทมาเป็นเจ้าของโรงเรียนสอนนักบินมาแล้ว 18 ปี ต้องประคองธุรกิจเพื่อปั้น “นักบิน” ให้สามารถทำตามฝันของตัวเอง ท่ามกลางช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของธุรกิจการบิน

18 ปี นับจากวันที่เดินออกจากการเป็นลูกจ้างสายการบินไทยแอร์เอเชีย มาลงทุนเปิดโรงเรียนสอนนักบิน มีนักเรียนจบไปเป็นกัปตันแล้วกว่า 2,000 คน ส่วนใหญ่ไปทำหน้าที่เป็นนักบินการบินไทย และไทยแอร์เอเชีย และหากไม่มีโควิด-19 เวลาแห่งความรุ่งเรืองคือในปี 2564 นี้ ที่โรงเรียนของกัปตันปิยะ จะมีนักเรียนการบินหลายร้อยคน ที่ส่งมาจากมหาวิทยาลัยเอแบค มหาวิทยาลัยรังสิต คนที่อยากมาเรียนเพื่อเตรียมสอบเป็นนักบิน และมีนักบินที่การบินไทย และไทยแอร์เอเชียส่งมาเรียน

มากไปกว่านั้น คือจะมีนักบินจากประเทศในเอเชียที่บีเอซี ได้บรรลุข้อตกลงกับบริษัทซีเออี บริษัทเทคโนโลยีการบิน และโรงเรียนสอนการบินระดับโลก ส่งต่อนักบินในเอเชียมาเรียนในไทย โดยเฉพาะแอร์เอเชีย ที่มีฐานการบินใหญ่ในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย  ด้วยจุดเชื่อมโยงที่บีเอซี มีผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งคือ นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ไทยแอร์เอเชีย

จากวันแรกที่เริ่มเปิดธุรกิจโรงเรียนสอนนักบิน บีเอซีมีเครื่องบิน 1 ลำ เมื่อธุรกิจการบินเฟื่องฟูนับตั้งแต่โลว์คอสต์แอร์ไลน์ได้รับความนิยม ปัจจุบันมีเครื่องบินฝึกบิน 47 ลำ แต่ตอนนี้มีแค่ 10 ลำที่ยังถูกใช้สอนนักเรียนการบินประมาณ 60 คน ส่วนที่เหลือรออยู่ที่ลานจอดข้างรันเวย์ย่านรังสิต พร้อมๆ กับที่กัปตันปิยะต้องลดพนักงานจาก 300 คน เหลือ 101 คน ครูการบินจาก 80 คน เหลือ 28 คน ตามแผนลดค่าใช้จ่ายให้ได้ 70% ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เพื่อประคองธุรกิจไปต่อให้ได้อีก 3 ปี

“อีกไม่นานธุรกิจการบินจะฟื้น” นั่นคือความหวังของกัปตันปิยะ ที่ส่วนหนึ่งมาจากซีเออี ซึ่งมีพันธมิตรสายการบินอยู่ทั่วโลกในฐานะผู้จำหน่ายเครื่องฝึกบินจำลอง (Flight Simulator) วิเคราะห์ไว้ว่าในปี 2565 ธุรกิจการบินจะกลับมาคึกคักเหมือนปี 2562 หลังจากปี 2563-2564 ธุรกิจการบินต้องชะงัก และนักบินถูกปลดออกจากงานจำนวนมาก เพราะผู้โดยสารหายไป

สอดคล้องกับการประเมินของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (The International Air Transport Association หรือ IATA) ที่ว่า การเดินทางของผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมา หลังจากมีวัคซีนโควิดแล้ว 2 ปี และบรรยากาศการเดินทางจะคึกคักไม่ต่างจากปี 2562


เครื่องบินที่จอดรออยู่ จะได้กัปตันคนเดิมกลับมา แต่ไม่ใช่ทุกลำจะเจอกัปตันคนเดิม เพราะกัปตันจำนวนหนึ่งอายุใกล้เกษียณ หรือเกษียณพอดี และบางคนไปทำอาชีพอื่น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งคือนักบินใหม่ประมาณ 500 คน คำแนะนำของกัปตันปิยะคือ ใครอยากเป็นนักบินต้องเตรียมพร้อม และเริ่มเรียน เพราะใช้เวลาเรียนประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง โดยมีค่าเรียน 2-2.5 ล้านบาท

ขณะที่ความต้องการนักบินใหม่ทั่วโลกในอีก 10 ปีข้างหน้านั้น คาดว่าจะมีจำนวน 260,000 คน แต่มีความจริงในโลกหลังยุคโควิดที่ต้องยอมรับให้ได้คือ แม้น่านฟ้าเปิดแล้ว แต่ชีวิตกัปตันอาจไม่ได้สวยหรูเหมือนเดิม โดยเฉพาะค่าตอบแทนที่อาจลดลงไปถึง 30-50% จากปกติรายได้เป็นหลักแสนบาท แต่ตัวเลขนี้ก็ยังถือว่าสูงเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น

“ลูกกัปตันก็เริ่มเรียนปีนี้ เพราะตอนนี้มองเห็นแสงสว่าง และเห็นโอกาสแล้ว ตราบใดที่ผู้โดยสารยังต้องการกัปตันเพื่อบังคับอากาศยานเพื่อความปลอดภัย ธุรกิจนี้ก็จะยังคงอยู่ต่อไป”

นี่คือสถานการณ์ยากลำบากที่กำลังเผชิญอยู่ของอาชีพนักบิน แต่ด้วยความเชื่อที่ว่าวิกฤติจะต้องผ่านไปด้วยความหวัง และการเตรียมพร้อมเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อจะได้ไม่พลาดโอกาสที่เกิดขึ้นในอนาคต


ผู้เขียน : สุกรี แมนชัยนิมิต

กราฟิก :  Pradit Phulsarikij

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

Google News

แชร์อีกมุม! ‘ปิยะโสภา’ อันดับ1 แทน ‘ครูเบญ’ เก่ง หัวกะทิ สอบติด1 ใน 400 สนามครูอาชีวะ  มติชน

Google News

ธนาคารแห่งประเทศจีน มอบเงินสนับสนุนการศึกษา ‘อักษรเบรลล์ภาษาจีน’ ในไทย  The Bangkok Insight

Google News

พล.ร.7 เปิดค่ายต้อนรับนักศึกษา ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่  เชียงไหม่นิวส์