เป็นเวลากว่า 1 ปีเต็มที่ทั้งเด็กเล็กและเด็กโตต้องเรียนออนไลน์เพราะการระบาดของโควิด-19 วันนี้ทีมข่าว PPTV ได้รับอนุญาตให้ลองเรียนกับนักเรียนระดับมัธยมปลาย พบว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายของทั้งเด็กและครู
โควิด-19 คร่าชีวิตทั่วโลก 4 ล้านคน สายพันธุ์เดลตาแพร่ 100 ประเทศ
นายกฯชี้ มาตรการล็อกโควิด กระทบเศรษฐกิจ ธุรกิจ อย่างเลี่ยงไม่ได้ ปิดสถานที่เพิ่ม เตือนผู้ไม่หวังดี!
ผู้สื่อข่าวารายงานว่า บรรยากาศการเรียนการสอนออนไลน์ วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม โดยคุณธัญวัฒน์ พิวัฒน์เมธา ทีมข่าวพีพีทีวีประสานงานและได้รับอนุญาติจาก นายร่มเกล้า ช้างน้อย ครูชำนาญการวิชาคณิตศาสตร์ ให้ทดลองเรียนพร้อมกับเด็ก ๆ ในห้องนี้ โดยนักเรียนห้องนี้ไม่มีใครเปิดไมค์และกล้องระหว่างการเรียน ตลอด 1 ชั่วโมง เนื้อหาที่เรียนเกี่ยวกับเรื่องเรื่องตรรกศาสตร์
ทำให้เวลาลุกไปเข้าห้องน้ำ กลับมาต้องให้ครูอธิบายใหม่อีกรอบ ทุก 10 นาที ครูจะให้เวลานักเรียนทำแบบฝึกหัด สิ่งที่น่ากังวลคือนักเรียนหลายคนอาจไม่เข้าใจ เพราะในชั้นเรียนจะมีคนถามตอบกับครูเพียง 2-3 คนเท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนในห้องพบว่า เนื้อหาไปได้ช้ากว่ามาก
หลังจบคาบเรียน ครูที่สอนวิชานี้ เปิดใจกับทีมข่าว PPTV เขาต้องสอนออนไลน์นักเรียนครั้งละ 30-40 คน ภายในภาวะปกติก็ยากที่จะรู้ว่า นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้อย่างทั่วถึง แต่การสอนออนไลน์ยิ่งไปกว่านั้นมาก หลังสอนจบมีนักเรียนหลายคนทักแชตมาสอบถามเพิ่มเติมจำนวนมาก เนื่องจากไม่เข้าใจเนื้อหา บ่นเรื่องความเครียด ยอมรับว่าในช่วงแรกไม่ได้กระตือรือร้นในการปรับรูปแบบการสอนเป็นออนไลน์ เพราะคิดว่าสถานการณ์ระบาดโควิด-19 จะผ่านไปโดยเร็ว แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น
โดยครูคนนี้ยังบอกอีกว่า หลาย ๆ ครั้งที่สอนอยู่ นักเรียนแจ้งว่าอินเตอร์เน็ตหลุด ฝนตก ทำให้เขาไม่รู้ว่านักเรียนหลุดออกไปจากการสอนตั้งแต่ตอนไหน มองว่าการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานระดับบริหารจะต้องเร่งแก้ไข
เรื่องนี้วันนี้ทีมข่าวได้มีโอกาสสอบถาม นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยอมรับว่า มีปัญหาเรื่องอุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม แต่ทาง กพฐ. ไม่มีงบประมาณสนับสนุนด้านนี้ แต่ได้แก้ไขเฉพาะหน้า โดยการจ่ายค่าเยียวยารายหัวให้กับนักเรียนทุกคน
“ประเด็นเรื่องนี้ในเชิงระบบเนี่ย ไม่มีสกัดกั้นความเห็นของคุณครูนะครับ แม้แต่ความเห็นของนักเรียนผู้ปกครอง วันนี้เรารับฟังทุกมิติ เพียงแต่ว่าประเด็นที่รับฟังอะไรที่ปฏิบัติได้ ณ ทันที หรือ ปฏิบัติยังไม่ได้ แต่ต้องเป็น ข้อเสนอที่ฝ่ายนโยบายหรือรัฐ จะต้องมากำหนดอีกเรื่องหนึ่ง วันนี้ต้องยอมรับ คนไทยเราไม่ได้มีความเท่าเทียมกันแบบเป๊ะเลยนะ แม้แต่น้องกับพี่ก็ยังมีความแตกต่าง มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ แต่ในความเหลื่อมล้ำและแตกต่าง ทำยังไงเราจะอยู่ร่วมกันได้” นายอัมพร กล่าว
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายอัมพร ระบุว่าให้ยึดหลัด 4 ON ได้แก่ ออนไลน์ ให้เรียนที่บ้านผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ต ออนไซต์ เรียนที่โรงเรียน สำหรับโรงเรียนที่อยู่นอกพื้นที่เสี่ยง ออนแอร์ เรียนผ่านระบบดาวเทียมโทรทัศน์ และออนแฮนด์ เรียนผ่านแบบฝึกหัด สำหรับนักเรียนที่ไม่เข้าใจเนื้อหา โดยหลังจากนี้ทาง กพฐ. จะมีการปรับหลักสูตรให้เข้ากับการเรียนออนไลน์มากขึ้น และเฝ้าระวังสถานการณ์ไปไม่ต่ำกว่า3-6 เดือน เพราะยังไม่มีทางเลือกอื่น