นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า การเหนื่อยล้าจากการระบาดใหญ่จากวิกฤต โควิท 19 ภาษาอังกฤษเรียกว่า Pandemic fatigue ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีการค้นพบในมุมวิชาการว่าด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกับมาตรการที่เข้มงวดมีผลกระทบกับคนหมู่มาก สภาวะดังกล่าวส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค New normal ต่าง ๆ หรือความร่วมมือในการฉีดวัคซีนจะเริ่มมีปัญหา หรือลดน้อยลง เกิดจากอาการเบื่อ เซ็ง ของประชาชนกับบรรยากาศดังกล่าว สังเกตว่าประชาชนจะมีการรับรู้ความเสี่ยงต่อโรคที่เปลี่ยนไป ซึ่งสถาการณ์ไม่ได้ลดลงจากการปฏิบัติการกติกาตามที่ตั้งไว้
ความสามารถในการแก้ปัญหากับการสื่อสารเป็น 2 ยุทธศาสตร์ใหญ่ที่จะต้องเผชิญกับวิกฤตดังกล่าว สำคัญที่สุดการคือการให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม รัฐต้องโปร่งใส ยุติธรรม จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อจัดการระบบต่าง ๆ ของภาครัฐ ได้
การจัดการกับความเหนื่อยล้าของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญมาก ในบางกิจกรรม เช่น การเปิดสวนสาธารณะหรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เราสามารถกำหนดให้ประชาชนเว้นระยะห่างได้ ในต่างประเทศเริ่มเข้าใจในความทุกข์ของประชาชนทั้ง 2 ด้าน ความทุกข์ยากด้านเศรษฐกิจ กับความทุกข์ด้านสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Human being is social animal) จะตีกรอบให้อยู่แต่ในบ้านไม่ได้ อะไรที่สามารถออกไป outdoor และเกิดประโยชน์หรือเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ สามารถทำได้ เช่น ในประเทศเยอรมันผมได้พูดคุยกับลูกสาวไม่มีหรอกนะให้ปิดสวนสาธารณะเนื่องจากเป็นสถานที่ที่เด็กจะได้ไปกับครอบครัว การศึกษาบ้านเราที่ปรับรูปแบบให้เด็กเรียนออนไลน์ การได้ไปพิพิธภัณฑ์หรือสวนสาธารณะ นั่นถือได้ว่ามีประโยชน์มาก
ยุทธศาสตร์ที่สำคัญตอนนี้คือตระหนักในผลกระทบของสังคมและเศรษฐกิจเข้าใจความทุกข์ยากของประชาชนให้มาก รัฐบาลเข้าใจความทุกข์ทางด้านเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวต้องเน้นการ รับฟัง และเข้าหาถึงความทุกข์ด้านสังคมดังกล่าวจะสามารถเกิดการแก้ไขปัญหาวิกฤตไปด้วยกันได้
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่