อำพันที่มี ฟอสซิลดอกไม้ เก็บไว้จนเกือบถูกลืม นอกจากดอกใหญ่แล้วยังมีอายุถึง 40 ล้านปี
วันที่ 16 มกราคม 2566 ซีเอ็นเอ็น รายงานผลการศึกษาดอกไม้ที่เคยเบ่งบานในป่าสนบอลติกเมื่อ 40 ล้านปีก่อน ยังเป็นดอกสมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้เพราะยางสนหยดลงบนกลีบดอกและเกสรพอดี
- สถิติหวย ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลงวด 17 มกราคม ย้อนหลัง 10 ปี
- ขั้นตอนทำบัตรประชาชนดิจิทัล (Digital ID) ใช้แทนบัตรจริง
- ผลสลากออมสินพิเศษ 1 ปี และ 3 ปี งวดวันที่ 16 มกราคม 2566 (อัพเดต)
นักวิทยาศาสตร์ศึกษาก้อนอัมพันยางสนซึ่งเคยตีพิมพ์ในเอกสารครั้งแรกในปี ค.ศ. 1872 และเป็นของเภสัชกรคนหนึ่งในเมืองโควาเลฟสกี หรือ คาลีนินกราด ในรัสเซียปัจจุบัน
อีวา-มาเรีย ซาดอฟสกี นักวิจัยแห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมาตคิในกรุงเบอร์ลินของเยอรมนีและผู้เขียนงานวิจัยชิ้นใหม่ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารไซแอนทิฟิก รีพอร์ตส์ กล่าวว่าฟอสซิลที่น่าทึ่งส่วนใหญ่ถูกเก็บไว้จนคนเกือบลืมไปในสถาบันธรณีศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติแห่งสหพันธรัฐ หรือ บีอาร์จี ในกรุงเบอร์ลิน
กระทั่งเพื่อนร่วมงานที่เกษียณอายุไปแล้วบอกว่าเคยไปที่บีอาร์จีและเห็นชิ้นอัมพันที่มีดอกไม้ฝังอยู่ ชื่อรหัสว่า X4088
นักวิจัยหญิงกล่าวว่า ตอนนั้นไม่เคยทราบเลยว่าบีอาร์จีมีคอลเลกชันอัมพัน จึงถามภัณฑารักษ์ว่าจะขอชมได้หรือไม่และในที่สุดก็พบตัวอย่าง X4088
“ฉันประหลาดใจที่เห็นดอกไม้ขนาดใหญ่ 28 มิลลิเมตร ถือว่าเป็นดอกไม้ในอัมพันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยรู้จักและมีขนาดโตกว่าฟอสซิลลักษณะคล้ายกันถึง 3 เท่า”
ซาดอฟสกีสกัดตัวอย่างและตรวจสอบละอองเรณูจากอำพัน พบว่ามีการระบุชื่อดอกไม้ผิดตั้งแต่การศึกษาครั้งแรก โดยชื่อสกุลเดิม คือ Stewartia เป็นวงศ์ใน Theaceae
แต่จากศึกษาสัณฐานวิทยาของละอองเรณูพบว่าการศึกษาครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 ไม่ถูกต้อง เพราะนักวิทยาศาสตร์ในสมัยโบราณไม่ได้ศึกษาละอองเรณู
ดอกไม้นี้เกี่ยวข้องกับพืชดอกชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในเอเชีย รู้จักกันในชื่อ Symplocos ซึ่งเป็นไม้พุ่มหรือต้นไม้ ดอกสีขาวหรือสีเหลือง
เดิมมีชื่อว่า Stewartia kowalewskii แต่คณะผู้เขียนเสนอชื่อใหม่ว่า Symplocos kowalewskii
ฟอสซิลอำพันน่าดึงดูดใจ มองได้ 3 มิติ มีหลากหลายชนิด ทั้งต้นไม้ ดอกไม้ หางไดโนเสาร์ ปู มดยมโลก แม่และลูกแมงมุม ตีนนก กระโหลกกิ้งก่าในยางต้นไม้
- พบฟอสซิล สัตว์ขาปล้อง สุดโบราณ อาศัยใต้ท้องทะเลจีน 500 ล้านปีก่อน
- พบ ฟอสซิลไข่ 2 ฟอง ไดโนเสาร์ฮาโดรซอร์ สภาพสมบูรณ์ที่สุด