วันนี้ (19 ธ.ค. 64) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การลดโทษในคดีสำคัญ” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 13-15 ธันวาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,317 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการลดโทษในคดีสำคัญ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการลดโทษให้กับนักโทษ คดีทุจริต คอร์รัปชัน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.04 ระบุว่า ไม่ควรมีการลดโทษ
รองลงมา ร้อยละ 26.27 ระบุว่า ควรต้องได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโทษ จึงจะมีสิทธิได้รับการลดโทษ
ร้อยละ 22.02 ระบุว่า ควรมีการลดโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
ร้อยละ 1.67 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อการลดโทษให้กับนักโทษ คดีผลิต/นำเข้า/ส่งออก/จำหน่ายยาเสพติด พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.03 ระบุว่า ไม่ควรมีการลดโทษ
รองลงมา ร้อยละ 12.76 ระบุว่า ควรต้องได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโทษ จึงจะมีสิทธิได้รับการลดโทษ
ร้อยละ 12.53 ระบุว่า ควรมีการลดโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
ร้อยละ 0.68 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการลดโทษให้กับนักโทษ คดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ (เช่น คดีฆ่าข่มขืน) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.88 ระบุว่า ไม่ควรมีการลดโทษ รองลงมา ร้อยละ 7.14 ระบุว่า ควรต้องได้รับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของโทษ จึงจะมีสิทธิได้รับการลดโทษ ร้อยละ 6.98 ระบุว่า ควรมีการลดโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่ออำนาจการกำหนด/เลื่อนชั้นของนักโทษที่จะทำให้ได้รับการลดโทษต่างกัน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.52 ระบุว่า ควรเป็นการพิจารณาร่วมกันกับองค์กรอื่น ๆ ในกระบวนการยุติธรรม เช่น อัยการ ศาล เป็นต้น รองลงมาร้อยละ 21.79 ระบุว่า ควรเป็นอำนาจของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม เหมือนในปัจจุบัน ร้อยละ 14.43 ระบุว่า ไม่ควรมีการกำหนดชั้นของนักโทษอีกต่อไป และร้อยละ 9.26 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.73 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.89 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.38 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.41 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.59 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.82 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.18 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.84 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 14.50 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 20.88 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 32.27 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 25.51 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.67 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.28 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.29 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.76 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 24.07 สถานภาพโสด ร้อยละ 71.45 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.02 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.78 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.55 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.21 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.07 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.93 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.73 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.58 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.50ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.95 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.79 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.49 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.43 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 20.05 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.94 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.12 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.19 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 6.07 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 6.68 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.95 ไม่ระบุรายได้