Free Porn
xbporn

https://www.bangspankxxx.com
หน้าแรก แวดวงการศึกษา ฟังเหตุผลแม่ลูกสองผู้เพิ่งอ่านหนังสือออกตอนอายุ 18 ที่อยากให้ลูกย้ายประเทศ

ฟังเหตุผลแม่ลูกสองผู้เพิ่งอ่านหนังสือออกตอนอายุ 18 ที่อยากให้ลูกย้ายประเทศ

-- advertisement --

เจนจิรา มีสุข

ที่มาของภาพ, เจนจิรา มีสุข

คำบรรยายภาพ,

แม่ลูกสองคนนี้มองว่าที่กลุ่มเฟซบุ๊กที่ให้ข้อมูลเรื่องการย้ายประเทศได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะ “ความรู้สึกอึดอัด”

“หนูไม่ได้รังเกียจประเทศตัวเองหรือบ้านตัวเอง ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากอยู่บ้านหนู ไม่อยากออกไปเสี่ยงดวงที่ไหนอยู่แล้ว แต่ก็อย่างที่เห็นอะค่ะ…” เจนจิรา มีสุข (นามสมมติ) บอกกับบีบีซีไทย

“อย่างที่เห็นอะค่ะ” หมายความถึงสภาพที่ประเทศไทยเป็นอยู่ในหลายแง่มุม ทั้งเรื่องการเมือง กระบวนการยุติธรรม ไปจนถึงระบบสวัสดิการ

และความรู้สึกของหญิงวัย 28 ปีผู้นี้ก็สะท้อนความรู้สึกของสมาชิกหลายคนในกลุ่มเฟซบุ๊ก “ย้ายประเทศกันเถอะ” (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “โยกย้าย มาส่ายสะโพกโยกย้าย”) ที่ตอนนี้มีสมาชิกกว่า 9 แสนรายแล้วทั้ง ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่กี่วัน

เจนจิราโพสต์ลงในกลุ่มว่า “คิดอยู่นานว่าจะโพสต์ดีไหม รู้สึกอับอายมาก เรามาจากครอบครัวไร้คุณภาพ หรือที่เขาเรียกกันว่าตลาดล่าง เราเรียนไม่จบ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้…” และขอคำแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อผลักดันให้ลูกสาวสองคนได้ “ออกไปจากประเทศนี้ อยากให้เขาได้โรงเรียนที่มีคุณภาพ ชีวิตดี ไม่ต้องมาเจออะไรเลวร้ายเหมือนที่แม่เขาเคยเจอ…”

เธอบอกบีบีซีไทยว่าที่ก้าวข้าม “ความอับอาย” นั้นได้ก็เพราะเพื่อลูก “ถ้าเราไม่พูดออกไป… ลูกเราจะอยู่แค่นี้”

ที่มาของภาพ, facebook/ย้ายประเทศกันเถอะ

อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

เจนจิราเล่าว่าชีวิตไม่ได้แย่หลังจากที่เธอต้องย้ายไปอยู่กับปู่ย่าที่ จ.อ่างทองเพราะพ่อแม่ “ไม่มีศักยภาพ ไม่พร้อมอะไรเลย…” แต่ชีวิตที่ไม่ได้แย่นั้นก็ยืนยาวอยู่แค่จนเธอมีอายุ 3 ขวบเท่านั้น เพราะเธอต้องย้ายไปอยู่กับยายที่ จ.อำนาจเจริญ และจากนั้นเป็นต้นมา ทั้งปัญหาครอบครัว สภาพสังคม และระบบการศึกษา ก็ไม่เอื้อให้เธอเรียนหนังสือได้อย่างราบรื่นอีกเลย

เธอเล่าว่า ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ในตอนนั้นคือเด็กไม่จำเป็นต้องมีความรู้มาก “ป.6 แล้วก็ให้มันออกจากโรงเรียน ให้ไปพัทยา ไปภูเก็ต ไปหาผัวฝรั่ง คือจับผู้ชายรวย ๆ เพื่อที่จะได้มีชีวิตที่ดี”

นอกจากนี้ โรงเรียนประถมของเธอ แม้จะมีนักเรียนถึงร้อยคนแต่มีครูแค่ 6 คน และไม่สามารถดูแลเด็กได้ทั่วถึง ประกอบกับที่ยายเธอเองก็ไม่รู้หนังสือ ทำให้ไม่สามารถช่วยเรื่องการบ้านได้ ส่งผลให้เธอไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ พออายุได้ 13 ปี เจนจิราย้ายมาอยู่กับพ่อแม่ที่กรุงเทพฯ เข้าเรียนชั้น ม.1 แต่ก็ยังไม่รู้หนังสืออยู่ดี และไม่กล้าบอกพ่อแม่

และเมื่อต้องเผชิญปัญหาชีวิตส่วนตัวที่ถาโถมเข้ามา เธอตัดสินใจหนีออกจากบ้านตอนอายุ 14 ปี และเพิ่งมาเรียนรู้การอ่านและเขียนได้ด้วยตัวเองตอนอายุ 18 ปี และมีลูกสองคนแล้วในตอนนั้น

ขี้เกียจเองเหรือเปล่า ?

เจนจิราเคยบอกเล่าเรื่องตัวเองลงบนโซเชียลมีเดียมาก่อน แต่ต้องเจอกับปฏิกิริยาลบ ๆ กลับมา หาว่าเธอขี้เกียจเอง และบอกว่าเธอใจแตก แต่ในกลุ่ม “ย้ายประเทศกันเถอะ” เธอบอกว่าได้ทั้งกำลังใจและคำแนะนำดี ๆ

เธอยอมรับว่าเธอเองอาจจะมีส่วนผิด แต่ก็พยายามชี้ให้เห็นว่าระบบการศึกษาในประเทศไทยมีปัญหาจริง ๆ “เราไปเรียนต่างจังหวัดเหมือนเราไปอยู่บนดอย ไม่มีมาตรฐานอะไรเลย บุคลากร คุณครู ทำให้เราเป็นแบบนี้”

ที่มาของภาพ, facebook/ย้ายประเทศกันเถอะ

คำบรรยายภาพ,

กลุ่มเฟซบุ๊ก “ย้ายประเทศกันเถอะ” (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “โยกย้าย มาส่ายสะโพกโยกย้าย”) มีสมาชิกกว่า 9 แสนรายแล้วทั้ง ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งได้ไม่กี่วัน

ตอนออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเอง เจนจิราบอกว่าได้ไปเจอผู้คนในสังคมที่หลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตอนที่ไปทำงาน “โรงงานปักผ้าของคนอินเดีย คัดส้มที่ตลาดไท เป็นเด็กเสิร์ฟ”

อยู่มาวันหนึ่ง คนรู้จักคนหนึ่งก็แนะนำให้เธอซื้อสมาร์ตโฟน นับเป็นครั้งแรกที่เธอ “ได้เห็นไลน์เป็นครั้งแรก ได้เห็นทุกอย่าง” คนรู้จักคนนั้นสมัครเฟซบุ๊กให้ แต่ “เราเล่นไม่เป็น …รู้สึกว่าเลื่อนไปมันมีอะไรน่าสนใจแต่เสียดายอ่านไม่ออก”

เรียนจากยูทิวบ์

ที่มาของภาพ, เจนจิรา มีสุข

คำบรรยายภาพ,

เจนจิราวางแผนให้ลูกสาวคนโตสอบชิงทุนไปเรียน ม. ปลาย ที่สิงคโปร์

และแล้วคนที่ทำให้เธออ่านออกเขียนได้ก็ไม่ใช่ครู 6 คนที่โรงเรียนแห่งนั้นใน จ.อำนาจเจริญ แต่เป็นคลิปในยูทิวบ์ที่สอนตั้งแต่ “ก เอ๋ย ก ไก่” ที่เธอนอนฟังจนหลับทุกวันหลังเลิกงาน

แต่เธอก็ยังอ่านหนังสือไม่ออกอยู่ดี จนกระทั่งลองจำเป็นคำ ๆ ไปแล้วลองเขียนตาม

“จำตัวอักษร คำนี้มันมีตัวอะไรบ้าง อักษรอะไรบ้าง อย่างคำว่า ‘คำ’ มันก็จะมี ค ควาย สระอำ ใช่ไหมคะ เราก็จะจำ” เจนจิราเล่าให้บีบีซีไทยฟัง

ผ่านไปราวหนึ่งปี เจนจิราเล่าว่า “ค่อยพอได้” แชตผิด ๆ ถูก ๆ คุยกับเพื่อนทางเฟซบุ๊กจนคล่องแคล่วขึ้นในที่สุด

จากข้อมูลโดยธนาคารโลก อัตราการอ่านออกเขียนได้ของคนไทยอายุระหว่าง 15-24 ปี ในปี 2018 อยู่ที่กว่า 98.1% เทียบกับเมื่อปี 1980 ที่อยู่ที่ 96.8%

เจนจิรายอมรับว่า “ไม่เคยคิดถึงลูกเลย… ความคิดคือไม่ต้องเรียนเยอะหรอก เดี๋ยวก็หาสามีรวย ๆ เกาะเอา” แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อเริ่มอ่านหนังสือได้ และได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น “ได้เห็นโลกกว้างในสังคม แล้วก็เริ่มมองย้อนกลับไปว่าช่วงชีวิตเราเจออะไรมาบ้าง เราต้องเจอะระบบอะไรมาบ้าง”

ที่มาของภาพ, facebook/ย้ายประเทศกันเถอะ

คำบรรยายภาพ,

เจนจิราบอกว่าได้รับคำแนะนำดี ๆ หลังจากเข้าไปโพสต์ถามเรื่องการย้ายไปต่างประเทศให้ลูกสาว

แม่ลูกสองคนนี้มองว่าที่กลุ่มเฟซบุ๊กที่ให้ข้อมูลเรื่องการย้ายประเทศได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะ “ความรู้สึกอึดอัด”

“เราทนอยู่กับอะไรที่ไม่พัฒนาแล้วมองไม่เห็นอนาคตมาเป็นระยะเวลาที่นาน” เจนจิรากล่าว เธอบอกว่าพยายามหาข้อมูลทั้งภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษก็ใช้กูเกิลช่วยแปล

“เรารับรู้ความเจริญที่มันตรงข้ามกับประเทศเรา ทำไมเขาทำได้ ทำไมเรายังหยุดอยู่แค่นี้ แล้วเราพยายามหาว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน เริ่มรู้ว่าโครงสร้างของประเทศนี้มันพังอะ มันบิดเบี้ยวไปหมดเลย มันยากที่จะแก้ไขแล้วอะ”

เมื่อถามถึงประเทศในอุดมคติที่อยากให้ลูกย้ายไปอยู่ เจนจิราบอกว่าอยากให้เป็นประเทศที่กฎหมายไม่บิดเบี้ยว ผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่ดี และมีโครงสร้างทางสวัสดิการที่ดี

หลังจากได้คำแนะนำของคนในกลุ่มดังกล่าว ตอนนี้เธอวางแผนจะให้ลูกคนโตที่กำลังจะขึ้น ม.1 พยายามฝึกภาษาอังกฤษและสอบชิงทุนไปเรียน ม.ปลาย ที่สิงคโปร์

“ไปน่าจะดีกว่า ถึงอยู่มันก็มองไม่เห็นอนาคตของลูก ถึงตัวหนูจะไม่ได้ไปแต่ขอให้ลูกได้ออกไป แค่นั้น”

-- advertisement --