Website Sponsored

รร.เอกชนเรียกร้องความเท่าเทียม

Website Sponsored
Website Sponsored

โอดมีกฎข้อบังคับกำกับมากหมาย ทำให้เสียเปรียบ วอนรัฐดูแลอย่างเท่าเทียม

วันที่ 26 ก.ย.60 ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ว่า คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดการศึกษา ซึ่งได้มีการรวบรวมข้องมูลจากผู้แทน/สมาคมต่างๆ ที่มีสถานศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบ ทั้งปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานในภาพรวมของสถานศึกษาเอกชน และโรงเรียนนานาชาติ คณะกรรมการฯได้อภิปรายเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง

โดยดูตั้งแต่ประวัติศาสตร์ที่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตั้งแต่แรก และรัฐเข้ามามีบบาทมากขึ้นและพัฒนามาจนถึงรัฐเข้ามามีบทบาทในการควบคุมกำกับมากกว่าส่งเสริมสนับสนุน ต่อไปต้องมากำหนดบทบาทให้ชัดเจนว่ารัฐมีบทบาทอย่างไร โดยจะต้องมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ แต่ต้องลดกระบวนการกำกับควบคุมลง และมีมาตรการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาให้บริการด้านการศึกษามากขึ้น

อนาคตอาจจะต้องมีการแยกระดับโรงเรียน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มโรงเรียน เช่น โรงเรียน ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนที่มุ่งแสวงหากำไร และโรงเรียนที่มุ่งให้บริการเข้ามาทำหน้าที่เสริม หรือร่วมกับรัฐในการจัดการศึกษา แต่ที่แน่นอน คือการจัดการศึกษาระดับอนุบาล 3 ขวบ จะต้องจัดโดยรัฐเพราะกฎหมายกำหนดไว้

ทั้งนี้ยอมรับว่าข้อเรียกร้องบางอย่างสมเหตุสมผล บางอย่างอาจมากเกินไป ซึ่งต้องมาพิจารณาตามความเหมาะสม แต่ปัญหาสำคัญที่ร้องเรียนกันมากขึ้น รัฐไปแข่งกับเอกชน ขณะที่ของเอกชนมีกฎข้อบังคับกำกับมากกว่า ทำให้เอกชนเสียเปรียบ อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แนวทางที่ชัดเจน แต่แน่นอนว่าบทบาทของภาคเอกชนจะต้องมากขึ้น

น.ส.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รองประธานคณะกรรมการอิสระฯ กล่าวว่า ปัญหาแรกที่พบเป็นเรื่องที่มีผลกระทบทำให้การจัดการศึกษาติดขัดคือเรื่องกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน พ.ศ.2550และพ.ศ.2554 (แก้ไขเพิ่มเติม) ที่บังคับใช้มานาน ไม่สอดคล้องกับปัจจุบัน และรัฐธรรมนูญ บางมาตราในพ.ร.บ.ขัดแย้งกันเอง และขัดกับพ.ร.บ.อื่นๆ เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งมีลักษณะเป็นการควบคุมมากกว่าส่งเสริมการจัดการศึกษา โรงเรียนเอกชน จึงมีข้อเสนอให้ปรับแก้พ.ร.บ.การศึกษาเอกชนใหม่ ซึ่งทราบว่า สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) อยู่ระหว่างดำเนินการ

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการเรียนการสอน โดยเฉพาะในส่วนของโรงเรียนนานาชาติ ที่ทำรายได้ให้กับรัฐปีละกว่า 1 แสนล้านบาท จะมีข้อติดขัด เช่น การประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ) ทั้งที่บางแห่งได้รับการรับรองในระดับนานาชาติแล้ว หรือครูต่างประเทศที่ต้องต่อวีซ่าทุกๆ 6 ปี นอกจากนั้นเป็นเรื่องบประมาณที่รัฐจัดสรรหา ซึ่งโรงเรียนเอกชนบางแห่งไม่รับ แต่บางแห่งได้ไม่ครบทำให้เด็กต้องเสียค่าเล่าเรียนเพิ่ม ดังนั้นจึงอยากให้โรงเรียนเอกชน ได้รับการสนับสนุนการจัดการศึกษาเท่ากับภาครัฐ เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ อีกเรื่องคือ การกำหนดสัดส่วนการรับนักเรียนระหว่างโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนรัฐ ที่รัฐจะเปิดรับเด็กหลายรอบทำให้เด็กไม่มาเรียนโรงเรียนเอกชน

ทั้งนี้ นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการ สกศ. กล่าวว่า ที่ประชุมหารือความเชื่อมโยงของรัฐกับเอกชน เนื่องจากเอกชนที่เข้ามาจัดการศึกษาส่วนใหญ่เข้ามาโดยขอให้เข้ามา แต่ต่อไปควรเปิดให้เอกชนเข้ามาช่วยจัดการศึกษาที่ชัดเจน ไม่ใช่เปลี่ยนไปตามนโยบายของรัฐที่มีการเปลี่ยนแปลง และเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาช่วยจัดการศึกษาในหลายรูปแบบทั้ง การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Website Sponsored
นักเรียน นักศึกษา

นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

Recent Posts

Google News

แชร์อีกมุม! ‘ปิยะโสภา’ อันดับ1 แทน ‘ครูเบญ’ เก่ง หัวกะทิ สอบติด1 ใน 400 สนามครูอาชีวะ  มติชน

Google News

ธนาคารแห่งประเทศจีน มอบเงินสนับสนุนการศึกษา ‘อักษรเบรลล์ภาษาจีน’ ในไทย  The Bangkok Insight

Google News

พล.ร.7 เปิดค่ายต้อนรับนักศึกษา ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่  เชียงไหม่นิวส์