ที่สำคัญองค์กรเองก็ควรเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่แพ้กัน ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการเข้าใจเรื่องโค้ดดิ้งเป็นลำดับแรก ๆ เพื่อเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะให้พนักงานเป็นผู้เปลี่ยนแปลง กล่าวคือผู้นำที่ดีจำเป็นต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

    แล้วจึงหาโอกาสให้พนักงานในองค์กรได้เรียนรู้ และต้องพยายามจัดเวลาให้พนักงานได้มีโอกาสเรียนรู้ เนื่องจากในบางครั้งพนักงานก็อาจจะให้เวลาอยู่กับงานมากเกินไป จนบางครั้งก็แทบไม่มีเวลาในการพัฒนาทักษะในด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น ทางบริษัทอาจจะจัดตั้งการเรียนคอร์สออนไลน์เรื่องโค้ดดิ้งให้แก่พนักงานทุกท่าน โดยมีนโยบายว่าไม่ต้องทำงาน 1 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาสกิลโดยเฉพาะ

    ซึ่งการกระทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความสามารถให้แก่พนักงงานทั้งทางตรง แต่ยังสามารถเพิ่มศักยภาพการสร้างเม็ดเงินที่มากขึ้นทางอ้อมให้แก่บริษัทอีกด้วย เรียกได้ว่าถ้าบริษัทไหนที่เริ่มขยับตัวในเรื่องนี้ก่อน ก็อาจจะเป็นก้าวที่สำคัญที่ทำให้เป็นบริษัทชั้นนำอันดับต้น ๆ ที่พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงกับโลกแห่งอนาคตได้อย่างดีเยี่ยม

    Coding กับประเทศไทย

    แน่นอนว่าทุกสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มันจะเป็นไปได้ยากมากเลยถ้าไม่ได้รับการร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนจับมือทำงานกันอย่างเป็นระบบ เพราะถ้ามองลึกลงไปที่ตัวโค้ดดิ้งจริง ๆ ก็จะพบว่า ตัวโค้ดดิ้งเองเปรียบเสมือนความรู้แกนกลาง ที่สามารถบูรณาการทุกศาสตร์ความรู้ให้ควบคู่ไปอย่างมีประสิทธิภาพ

    ยกตัวอย่างเช่น พยาบาลที่มีทักษะทางด้านโค้ดดิ้งแล้ว อยากได้เครื่องมือบางอย่างเพื่อตอบโจทย์ในการดูแลผู้ป่วย ทักษะโค้ดดิ้งนี้ก็จะไม่ได้ช่วยแค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่ยังช่วยในเรื่องของความเป็นระบบ ที่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ทุกอย่างครบจบในตัวเอง หรือบุคลากรด้านการตลาด ที่มีความสามารถการใช้แชตบอตเป็น ถือว่าเป็นการจับศาสตร์เรื่องโค้ดดิ้งเข้ามารวมกันได้อย่างดีเยี่ยม

    หากมองต้นแบบประเทศที่สามารถบูรณาการศาสตร์โค้ดดิ้งเข้ากับศาสตร์ต่าง ๆ ได้อย่างมีระบบก็หนีไม่พ้นประเทศ ฟินแลนด์ เป็นประเทศที่ส่งเสริมเรื่องความเข้าใจโค้ดดิ้งตั้งแต่ภาคการศึกษา เริ่มต้นด้วยพื้นฐานอย่างง่ายสำหรับเด็ก เช่น การเล่านิทาน ที่ควบรวมความเป็นระบบ มีการเล่านิทานที่เข้าใจถึงความเป็นขึ้นเป็นตอน มีต้นกลางจบ ด้วยเบื้องต้นตรงนี้เด็กในประเทศจึงต่อยอดเรื่องโค้ดดิ้งได้อย่างเป็นธรรมชาติ

    ฟินแลนด์ มองโค้ดดิ้งเป็นหลักสูตรแกนกลางที่มองว่าโค้ดดิ้งสามารถนำไปใส่รวมกับวิชาอื่น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะแตกต่างกับประเทศไทย ที่เน้นถึงความเยอะของชั่วโมงเรียนเป็นหลัก แต่ที่ประเทศฟินแลนด์กลับเน้นถึงแก่นความเข้าใจของวิชาเป็นหลัก จึงเกิดชั่วโมงเรียนต่อปีแค่ 800 ชั่วโมง ในขณะที่เราเน้นเรียนให้ได้ 1,200 ชั่วโมงต่อปี

    นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมที่ฟินแลนด์การเรียนโค้ดดิ้งถึงได้เกิดประโยชน์กว่าที่ประเทศไทย นอกจากนี้ที่ฟินแลนด์ก็ยังมีการตั้งธงไว้ต่อการเรียนโค้ดดิ้งให้เกิดประโยชน์แบบข้ามศาสตร์ โดยส่งเสริมให้บุคลากรครูและนักเรียนได้เป็นผู้ใช้และพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งทางฟินแลนด์ก็พึ่งเริ่มบรรจุหลักสูตรโค้ดดิ้งเป็นแกนกลางเมื่อปี 2016 ต่างจากประเทศไทยแค่ 1 ปี

    แต่ก่อนที่ฟินแลนด์จะเอาโค้ดดิ้งเข้ามาในหลักสูตรแกนกลางนั้น ประเทศฟินแลนด์มีกระบวนการวิจัยมาเป็น 10 ปี กว่าที่จะถูกบรรจุในหลักสูตรแกนกลาง ในขณะที่มองย้อนกลับมาประเทศไทย ก็จะพบว่าประเทศเรามีการเตรียมตัวที่สั้นมาก จึงทำให้ยังไม่ได้รับความเข้าใจไปอย่างแพร่หลาย แต่ถ้ามองไปอีกมุมก็ถือได้ว่าเราเป็นประเทศแรก ๆ ที่มีการบรรจุหลักสูตรด้านโค้ดดิ้งขึ้นมา

    สิ่งนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงยังจำเป็นที่ต้องพัฒนาบุคลากรทั่วทุกระดับชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำคัญเร่งด่วนนั่นคือ คุณครู ปัจจุบันนี้ครูที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านโค้ดดิ้งนับได้ว่ายังมีน้อยมาก เนื่องด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าบุคลากรตามต่างจังหวัด ที่บางทีอาจจะยังไม่มีแม้แต่อินเทอร์เน็ตใช้

    รวมไปถึงระบบราชการที่มีความแข็งตัวมาก ๆ ถึงขนาดหน่วยงานราชการบางแหล่งยังมีรูปแบบการใช้แผ่นซีดีอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมกันเป็นกระบอกเสียงให้หน่วยงานภาครัฐ และระบบราชการเร่งปรับตัวให้ทันตามยุคสมัย ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะเกิดสิ่งที่เรา ได้ยินแล้วได้ฟังกันบ่อย ๆ ว่าการมีเทคโนโลยีนั้นก็จะยิ่งส่งเสริมให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นเรื่อย ๆ

    ซึ่งจะไม่เกิดขึ้นแน่ ๆ ถ้ามีโครงสร้างราชการที่เข้าใจการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างเต็มคุณค่า ประชาชนทั่วไปก็จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น แล้วจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ นานาได้

    พร้อมทั้งสนับสนุนสิ่งที่มีค่ามากที่สุด นั่นก็คือบุคลากรทุกภาคส่วน สร้างเยาวชน สร้างครู สร้างบุคลากร สร้างหลักสูตร ให้มีความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี เปลี่ยนกรอบความคิดเดิม ๆ ที่ว่าห้ามผิด ห้ามพลาด ทำผิดไม่ได้เลย เพราะกระบวนการเหล่านี้ ถือเป็นการทำลายกระบวนคิด และพื้นฐานทางโค้ดดิ้งเหมือนกัน ดังนั้นนี้คือ เวลาที่เหมาะสมแล้วที่จะร่วมแรงร่วมใจกันทุกภาคส่วนผลักดันเรื่องโค้ดดิ้งอย่างเป็นจริงเป็นจัง เพื่อต้อนรับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

    งานนี้สำหรับผู้ที่ยังไม่หนำใจต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโค้ดดิ้งต่อ ทาง The MATTER ได้ทำหนังสือเรื่อง ‘การศึกษาไทยในยุคที่หมุนไปด้วยการโค้ด’ หนังสือที่จะพาไปสำรวจโลกของโค้ดดิ้งในมิติต่างๆ ทั้งด้านการศึกษาด้านสังคมที่สัมพันธ์กับชีวิตของคนทุกเพศทุกวัย ให้ได้อ่านกันแบบฟรี ๆ ในฉบับ E-book ได้เลย

    เครดิต: Codekids, Parentsone, Engineering Thinknet, 9 MCOT, Starfishlabz, The MATTER

    พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส

    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr Reddit Telegram WhatsApp Copy Link

    นักเรียน โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ศึกษาต่อต่างประเทศ สอบ กิจกรรมและงานต่าง ๆ ของนักศึกษาฯลฯ

    Categories
    ข่าวการศึกษา ต่างประเทศ สพป.กระบี่ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 สพป.กำแพงเพชร เขต 1 สพป.ขอนแก่น เขต 2 สพป.ขอนแก่น เขต 5 สพป.ชัยภูมิ เขต 1 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.นครพนม เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 5 สพป.นครราชสีมา เขต 7 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 สพป.นครสวรรค์ เขต 3 สพป.บึงกาฬ สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 สพป.มหาสารคาม เขต 2 สพป.มุกดาหาร สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 สพป. ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 สพป.สกลนคร เขต 2 สพป.สุรินทร์ เขต 1 สพป.สุรินทร์ เขต 2 สพป.สุรินทร์ เขต 3 สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 สพป.อำนาจเจริญ สพป.อุดรธานี เขต 1 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุบลราชธานี เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 2 สพป.อุบลราชธานี เขต 3 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 อุดมศึกษา แวดวงการศึกษา โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนศิลปะและกีฬา โรงเรียนสอนวิชาชีพ โรงเรียนสามัญ