เดลินิวส์
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024
สพฐ.สัญจรแก้หนี้จ.แพร่ สร้างคุณภาพชีวิตครูและบุคลากร
สพฐ. สัญจรแก้หนี้จังหวัดแพร่ รวมพลังแก้ไขปัญหาหนี้ สร้างคุณภาพชีวิตครูและบุคลากร
สพฐ.สัญจรแก้หนี้จ.แพร่ สร้างคุณภาพชีวิตครูและบุคลากร
สพฐ. สัญจรแก้หนี้จังหวัดแพร่ รวมพลังแก้ไขปัญหาหนี้ สร้างคุณภาพชีวิตครูและบุคลากร
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้รับมอบหมายจาก ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำทีม สพฐ. ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาหนี้สินของครูและบุคลากรฯ โดยนำนโยบายสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ร่วมกับสถานีแก้หนี้ครู สพฐ. ภาคเหนือ ร่วมกับ ดร.กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ดร.ขจร ธนะแพสย์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย และผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี ร่วมพบปะหารือแนวทางการเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาภาคเหนือที่ลงทะเบียนเข้ารับการแก้ไขหนี้สินกับ สพฐ. โดยมีข้าราชการและบุคลากรฯในพื้นที่ จำนวนกว่า 800 คน พร้อมด้วยผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ ผู้จัดการธนาคารกรุงไทย สาขาแพร่ ผู้จัดการธนาคารออมสินสาขาแพร่ ผู้บริหารการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ เข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง ณ โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่ พร้อมทั้งถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ Facebook live : ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา สพฐ. ไปยังผู้ชมที่สนใจทั่วประเทศอีกด้วย
.
นางเกศทิพย์ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เร่งขับเคลื่อนนโยบายการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา ของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรของ สพฐ. ทั้งบุคลากรที่อยู่ในระบบราชการและข้าราชการบำนาญ เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด จากการลงพื้นที่ภาคเหนือครั้งนี้ได้เห็นความเดือดร้อนและความต้องการของบุคลากรเราในพื้นที่หลายเรื่องที่ต้องการได้รับการแก้ไข เช่น การถูกฟ้องร้องบังคับคดี การเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินร้อยละ 6 ของธนาคารพาณิชย์ การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ การรวมหนี้สิน การปรับโครงสร้างหนี้ การเจรจาต่อรองลดดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่ออเนกประสงค์สำหรับผู้รับบำนาญ บำเหน็จรายเดือน และผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือน เป็นต้น ซึ่งปัญหาความต้องการเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ส่วนไหนเป็นอำนาจหน้าที่ของ สพฐ. จะสั่งการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการแก้ไขทันที ส่วนเรื่องไหนที่นอกเหนืออำนาจ สพฐ. ต้องใช้หน่วยงานภายนอกเข้ามาช่วยตามอำนาจหน้าที่ต่อไปโดยเร็ว ซึ่ง ดร.กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และ ดร.ขจร ธนะแพสย์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย ในนามคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยของรัฐบาล จะร่วมนำประเด็นดังกล่าวไปหารือแนวทางแก้ไขทั้งในระดับรัฐบาล และการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป
.
สำหรับการลงพื้นที่สัญจรภาคเหนือที่จังหวัดแพร่ครั้งนี้ ยังเห็นความเข้มแข็งของเครือข่ายสหกรณ์ออมทรัพย์หลายแห่งที่ได้เริ่มดำเนินการ เริ่มพยายามลดอัตราดอกเบี้ยลงมาที่ร้อยละ 4.75 มีการส่งเสริมสร้างรายได้ให้กับสมาชิกสหกรณ์ เพื่อเพิ่มรายได้ด้วยการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ เช่น เสื้อหม้อห้อม เข่ง กาแฟ เครื่องจักสาน เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นแบบที่ดีของการแก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งระบบ สิ่งสำคัญที่ ทีมแก้หนี้ สพฐ. จะต้องเร่งขับเคลื่อนเพิ่มเติมคือรวบรวมปัญหาข้อเสนอขอความช่วยเหลือของลูกหนี้ไปวิเคราะห์จัดกลุ่ม และกำชับติดตามการหักเงินเดือนที่เหลือไม่ถึงร้อยละ 30 ให้หมดไปโดยเร็ว รวมทั้งสนับสนุนแนวทางการใช้มาตรการกลางในการแก้ไขหนี้ของรัฐบาลและกรมส่งเสริมสหกรณ์ ดอกเบี้ย 3% ขยายระยะเวลาไปถึง 80 ปี หลังจากอายุ 80 ปี จ่ายคืนเฉพาะส่วนเงินต้น นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความสำเร็จของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี ในการลดดอกเบี้ยเงินกู้เหลือร้อยละ 4.75 ปรับดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 2.60 ซึ่งยังมากกว่าดอกเบี้ยออมทรัพย์ธนาคารพาณิชย์ สามารถสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสมาชิกสหกรณ์ได้เป็นอย่างดี
.
นางเกศทิพย์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีครูและบุคลากรทางการศึกษาลงทะเบียนสมัครใจเข้าร่วมโครงการแก้ปัญหาหนี้ 7,820 คน ในระบบแก้หนี้ออนไลน์ สพฐ. และมี สพท. ที่สามารถแก้ไขปัญหาสำเร็จอย่างน้อย 1 รายแล้ว 131 แห่ง ซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่ม 1 คือ กลุ่มที่ถูกฟ้องดำเนินคดี สพท. สามารถไกล่เกลี่ยเพื่อชะลอการฟ้องร้องก่อนการดำเนินคดีหรือไกล่เกลี่ยระหว่างการพิจารณาคดีหรือไกล่เกลี่ยชะลอการฟ้องล้มละลายหรือประสานงานช่วยเหลือในชั้นบังคับคดีหรือไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าหนี้กับครูและผู้ค้ำประกัน และกลุ่ม 2 คือ กลุ่มสีแดงที่ไม่ถูกฟ้อง สพท. สามารถทำให้มีสภาพทางการเงินดีขึ้นหรือมีเงินเดือนเหลือมากกว่าร้อยละ 30 รวมทั้งสิ้น 740 คน คิดเป็นมูลหนี้กว่า 2,220 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2567)
.
“จึงขอขอบคุณ ดร.กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ดร.ขจร ธนะแพสย์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาญจนบุรี ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ภาคเหนือ ผู้จัดการธนาคารกรุงไทย สาขาแพร่ ผู้จัดการธนาคารออมสินสาขาแพร่ ผู้บริหารการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ และทีมสถานีแก้หนี้ สพฐ. ทุกภาคส่วนที่ร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการในครั้งนี้อย่างเข้มแข็ง เพื่อให้ครูและบุคลากรมีความรู้และทักษะด้านการเงิน สามารถป้องกันและแก้ปัญหาด้านการเงินด้วยตนเองอย่างยั่งยืน สามารถเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย มีอาชีพเสริม และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างดีมีประสิทธิภาพสูงตามแนวทาง “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน” อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ข่าวยอดนิยมในหมวดหมู่
ข่าวอื่นๆ
ข่าวยอดนิยมในหมวดหมู่
ข่าวล่าสุด
ข่าวล่าสุด
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024
-
ติดต่อโฆษณา
-
ร่วมงานกับเรา
-
ติดต่อเรา
© 2024 บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024
-
ติดต่อโฆษณา
-
ร่วมงานกับเรา
-
ติดต่อเรา
© 2024 บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024
-
ติดต่อโฆษณา
-
ร่วมงานกับเรา
-
ติดต่อเรา
© 2024 บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024
-
ติดต่อโฆษณา
-
ร่วมงานกับเรา
-
ติดต่อเรา
© 2024 บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024
-
ติดต่อโฆษณา
-
ร่วมงานกับเรา
-
ติดต่อเรา
© 2024 บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024
-
ติดต่อโฆษณา
-
ร่วมงานกับเรา
-
ติดต่อเรา
© 2024 บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024
-
ติดต่อโฆษณา
-
ร่วมงานกับเรา
-
ติดต่อเรา
© 2024 บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2024
-
ติดต่อโฆษณา
-
ร่วมงานกับเรา
-
ติดต่อเรา
© 2024 บริษัท สี่พระยาการพิมพ์ จำกัด