อาจารย์เทคโนโลยียางและพอลิ เมอร์ มรภ.สงขลา โชว์ผลงานเวทีประชุมวิชาการระดั บชาติ คว้า 2 รางวัลชนะเลิ ศภาคบรรยายควบโปสเตอร์ พร้อมเป็นตัวแทนมหา’ลัย เข้าอบรมความรู้ร่วมกับประเทศสม าชิกอาเซียน
ดร.วัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์ประจำโปรแกรมวิ ชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจั ยในเวทีประชุมวิชาการต่างๆ และได้รับรางวัลชนะเลิศจากงานวิ จัย 2 เรื่องคือ การศึกษาการใช้สารตัวเติม 3 ชนิด ได้แก่เขม่าดำ ซิลิกา และแคลเซียมคาร์บอเนตต่อสมบัติ เชิงพลวัตของยางธรรมชาติวั ลคาไนซ์ ซึ่งนำเสนอภาคบรรยายได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับดี (Best Oral Presentation) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “การประชุมวิชาการ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 12” ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่ายางธรรมชาติ ผสมเขม่าดำมีการอ่อนตั วของความเค้นและพลังงานสูญหายสู งกว่ายางธรรมชาติผสมซิลิ กาและยางธรรมชาติผสมแคลเซี ยมคาร์บอเนต โดยเมื่อจำนวนครั้งของการถู กกระทำอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น การอ่อนตัวของความเค้น และพลังงานสูญหายมีค่าลดต่ำลง เมื่อปริมาณของสารตัวเติมเพิ่ มขึ้น ส่งผลให้ความเค้นสูงสุด พลังงานสูญหาย และความเครียดคงรูปถาวรมีแนวโน้ มเพิ่มขึ้น ผลงานวิจัยที่ได้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ยางทางวิ ศวกรรมต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยางที่ได้รั บแรงกระทำอย่างต่อเนื่อง เช่น ยางกันชน ยางกันกระแทก ยางรองแท่นเครื่อง เป็นต้น
ดร.วัชรินทร์ ยังกล่าวว่า สำหรับงานวิจัยเรื่อง Strength and Strain-induced Crystallization of Vulcanized Natural Rubber ซึ่งนำเสนอภาคโปสเตอร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ (Best Poster Presentation) ในการประชุมวิชาการระดั บนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล ครั้งที่ 9 พร้อมกับการประชุมวิชาการระดั บชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ “ราชมงคลขับเคลื่อนนวัตกรรมก้ าวไกลสู่ Thailand 4.0” ณ โรงแรมเรือรัษฎา อ.เมือง จ.ตรัง งานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาผลของปริ มาณการเชื่อมโยงโมเลกุลยางต่ อสมบัติด้านความแข็ งแรงและการเกิดผลึกเมื่อยื ดของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ โดยพบว่าความแข็งแรงและปริ มาณของการเกิดผลึกเมื่อยื ดของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์มีค่ าสูงขึ้นตามปริมาณการเชื่อมโยง จนถึงจุดหนึ่งแล้วค่าทั้ งสองจะตกลง และมีผลต่ออัตราการเกิดผลึก แต่ไม่มีผลต่อระยะยืดที่เริ่ มเกิดผลึก ซึ่งผลที่ได้จากงานวิจั ยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในการออกสูตรยางคอมเปานด์ให้มี สมบัติที่ตรงตามต้องการได้
นอกจากนั้น ดร.วัชรินทร์ ยังเป็นตัวแทนเข้าร่วมฝึ กอบรมเชิงปฏิบัติการ ASEAN Workshop on Infrared Spectroscopy and Imaging (AWIR2018) จัดโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าร่ วมอบรมทั้งชาวไทยและประเทศสมาชิ กอาเซียน จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งตนผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่ วมอบรมในครั้งนี้ โดยได้รับทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ ายทั้งหมดในการเข้าร่วมอบรม พร้อมทั้งเป็นตัวแทนเข้าฝึ กอบรมเชิงปฏิบัติการเทคโนโลยี ยาง หลักสูตรเทคโนโลยีการติดของยาง จัดโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ณ โรงแรมศาลายาพาวิลเลี่ยน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จ.นครปฐม เพื่อนำความรู้มาพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
** อ่านต้นฉบับเต็มได้ที่ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ