ชื่อ เทพบุ่นเชียง ไม่คุ้นเลยทางโหราศาสตร์ อ.มาศ เคหาสน์ธรรม เล่าว่า มีซินแสที่แนะนำคนไปไหว้ “เทพบุ่นเชียง” (ดาวนักปราชญ์) เพื่อให้บุตรธิดา ขยันเรียน มีปัญญากว้างไกล โดยบอกว่า ถ้าไหว้แล้วเด็กจะเรียนเก่ง ไม่มีคนสอบตก แต่ในทางฮวงจุ้ยนั้น เด็กจะเรียนได้ดีหรือเปล่า ขึ้นกับ 3 ปัจจัย โดย อ. มาศ สรุปให้ฟังดังนี้
คือ ถ้าตอนยังเป็นเด็กเล็กๆ พ่อแม่มีเทคนิคการสอน จูงใจให้เค้าใฝ่เรียน ใฝ่รู้ ให้เค้ามีความรู้รอบตัวเยอะๆ เวลาที่ครูถาม ก็สามารถตอบได้ ครูชื่นชม เพื่อนชม เด็กก็จะภูมิใจ อยากไปโรงเรียน อยากหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มด้วยตัวเอง พ่อแม่ไม่ต้องคอยบังคับให้อ่านหนังสือ ทำการบ้าน แต่ถ้าพ่อแม่ไม่เตรียมความพร้อมให้เค้า พอครูถามก็ตอบไม่ได้ เพื่อนหัวเราะเยาะ เด็กก็จะเสียความมั่นใจ กลายเป็นเกลียดวิชานั้น ไม่ชอบการไปโรงเรียน
2. ชะตาฟ้า (ดวงชะตา)
คือ ตอนที่เกิด หายใจเฮือกแรก ประจุพลังที่ดีหรือเปล่า ถ้าพลังดีก็จะช่วยให้เซลล์สมองเรียงเป็นระเบียบ ทำให้ฉลาด หัวดี มีพรสวรรค์ ขยัน
3. ชะตาดิน (ฮวงจุ้ย)
คือ จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เอื้ออำนวย เกื้อหนุนให้รักเรียน ตกแต่งมุมที่อ่านหนังสือให้สวยงาม น่านั่ง ให้แรงบันดาลใจ โดยนั่งอ่านหนังสือในมุมที่มีพลังดีที่จะกระตุ้นให้มีสมาธิ เรียนรู้ได้ดีขึ้น ที่เรียกว่า “ทิศบุ่นเชียง” ซึ่งเป็นแค่ชื่อพลังงาน ไม่ใช่ “เทพเจ้าบุ่นเชียง” แบบความเชื่อของลัทธิศาสนาไม่ชื่อจะเหมือนกัน
ในวิชาฮวงจุ้ยนั้น ทิศ “บุ่นเชียง” หรือ มุมการศึกษา มีหลายแบบ…
1. บุ่นเชียงถาวร
คือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของบ้านทุกหลัง
สามารถใช้ทิศนี้อ่านหนังสือทำการบ้านได้ตลอด
2. บุ่นเชียงจร
ในปี พ.ศ.64 คือ ทิศตะวันออก อ่านหนังสือทำการบ้านหันหน้าทิศนี้จะดีเป็นพิเศษ พอปีหน้าก็ไปอยู่ทิศอื่น
3. บุ่นเชียงของดวง
ดวงแต่ละคนก็จะมีทิศบุ่นเชียงส่วนบุคคลแตกต่างกัน ซึ่งอันนี้ต้องให้ซินแสคำนวณฮวงจุ้ยเป็นเรื่องพลังธรรมชาติ ไม่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ หรือพิธีกรรมใดๆ
ทำความรู้จัก
บุ่นเชียงตี่กุน หรือเรียกตามสำเนียงจีนกลางว่า เหวินชาง เป็นเทพเจ้าจีน โดยนับถือว่าเป็นเทพแห่งการอำนวยประโยชน์ในด้านการศึกษา, งานประพันธ์, อักษรศาสตร์, การรับราชการ และการสอบเข้ารับราชการ (ฝ่ายพลเรือน) โดยมีชีวิตอยู่จริงในสมัยราชวงศ์จิ้นในสมัยจักรพรรดิจิ้นเซี่ยวหวู่และเป็นเทพเจ้าจีนที่รู้จักและนับถือในประเทศไทยโดยเรียกตามสำเนียงกวางตุ้งว่า พระเจ้าหมั่นเช้งและเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า บุ่นเชียง
ข้อมูล บุ่นเชียงตี่กุน