สดร.ปลื้ม! ฝีมือคนไทยสุดยอด ชี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยสนใจดาราศาสตร์พัฒนาต่อไป ปีนี้มีคนส่งผลงานมากขึ้นถึง 3 เท่า เจ้าของภาพปะการังกับทางช้างเผือกเผยใช้เวลาถึง 2 ปีกว่าจะได้ภาพนี้สมการรอคอย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดพิธีมอบรางวัลประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2561 “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยรศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ ประธานกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ประธานในพิธี กล่าวว่า ถือเป็นภาพถ่ายฝีมือคนไทยที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ไม่เพียงบันทึกความสวยงามของดวงดาวและปรากฏการณ์บนท้องฟ้า แต่เป็นหนึ่งในสื่อทางดาราศาสตร์ใกล้ตัว ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสังเกต ค้นคว้าหาความรู้ตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ ทั้งยังเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปสนใจดาราศาสตร์มากขึ้น และสงเสริมใหวงการดาราศาสตรของไทยไดรับการยอมรับและพัฒนาสูสากลตอไปในอนาคต
นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินกล่าวว่า สดร. จัดประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ติดต่อกันเป็นปีที่ 11 ปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดมากขึ้นจากเดิมกว่าสามเท่า จำนวนทั้งสิ้น 624 ภาพ ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจะนำไปจัดทำสื่อทางดาราศาสตร์เผยแพร่ต่อสาธารณชนในหลายรูปแบบ อาทิ ปฏิทินดาราศาสตร์ หนังสือเรียนวิชาโลกและดาราศาสตร์ รวมทั้งนำไปจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ในโอกาสต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนทุกภูมิภาค ได้สัมผัสความสวยงามและความมหัศจรรย์ของท้องฟ้า ดวงดาว รวมถึงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
สำหรับผลการประกวด ประเภทภาพถ่าย Deep Sky Objects
รางวัลชนะเลิศ นายสิทธิ์ สิตไทย ชื่อภาพ “Colors of M42”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ ชื่อภาพ “Orion Molecular Cloud Complex”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายชยพล พานิชเลิศ ชื่อภาพ “Rosette Nebula in Hubble Palette”
รางวัลชมเชย นายกีรติ คำคงอยู่ ชื่อภาพ “M33 The Triangulum Galaxy”
ประเภทภาพถ่ายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ นายปวีณ อารยางกูร ชื่อภาพ “Total Solar Eclipse 2017, The Series”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายกีรติ คำคงอยู่ ชื่อภาพ “Mercury Transit 2016”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายสิทธิ์ สิตไทย ชื่อภาพ “Total Lunar Eclipse 2018”
รางวัลชมเชย นายอภิสิทธิ์ วิไลจิตต์ ชื่อภาพ “ฝนดาวตกที่หมู่บ้านม้ง ดอยปุย”
ประเภทภาพถ่ายวัตถุในระบบสุริยะ
รางวัลชนะเลิศ นายวิทยา ศรีชัย ชื่อภาพ “LoveJoy C/2014 Q2”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายสิทธิ์ สิตไทย ชื่อภาพ “Sunspot AR2699”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายตระกูลจิตร จิตตไสยะพันธ์ ชื่อภาพ “Jupiter’s Rotation”
รางวัลชมเชย นายพลชิต ลิขิตคีรีรัตน์ ชื่อภาพ “Into the craters”
ประเภทภาพถ่ายวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์
รางวัลชนะเลิศ นายณัฐพล พลบำรุงวงศ์ ชื่อภาพ “ปะการังเคียงข้างทางช้างเผือก”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายวรวิทย์ จุลศิลป์ ชื่อภาพ “ดาวหมุนบนดอยผาตั้ง”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายวิศณุ บุญรอด ชื่อภาพ “Old Faithful Geyser Eruption”
รางวัลชมเชย นายนุชา จงจิตรนันท์ ชื่อภาพ “วงแตก”
ประเภทภาพถ่ายปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก
รางวัลชนะเลิศ นายชัชชัย จั่นธนากรสกุล ชื่อภาพ “Lightning Storm”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายศักดิ์ชัย เรือนคำ ชื่อภาพ “รุ้งเตี้ย”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นายยงยุทธ จารุสิริรังษี ชื่อภาพ “มหัศจรรย์แสงเช้าบ้านปากประ”
รางวัลชมเชย นายวิศว จงไพบูลย์ ชื่อภาพ “แสงยามเย็น”
นายณัฐพล พลบำรุงวงศ์ รางวัลชนะเลิศ ภาพถ่ายวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์จากภาพ “ปะการังเคียงข้างทางช้างเผือก” กล่าวว่า ใช้เวลาถ่ายภาพดังกล่าวมากกว่า 2 ปี เนื่องจากรอช่วงเวลาที่ทางช้างเผือกจะปรากฏชัดเจนเหนือเส้นขอบฟ้า บริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา ราวเดือนม.ค.– ก.พ.ของทุกปี ประกอบกับรอช่วงเวลาที่น้ำทะเลลดต่ำที่สุดในรอบเดือน เพื่อเก็บภาพปะการังใต้ผิวน้ำ มองว่าเทคนิคสำคัญของการถ่ายภาพวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ คือความช่างสังเกตและความเข้าใจปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม สร้างสรรค์ ทั้งยังมีประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยในมุมมองที่แตกต่าง
** อ่านต้นฉบับเต็มได้ที่ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ