วันที่ 20 มีนาคม 2565 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ล้อมวงพูดคุยร่วมกับ ครูจุ๊ย-กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ครูทิว-ธนวรรธน์ สุวรรณปาล ในหัวข้อ “ล้อมวงคุย ลุยแก้ปัญหา การศึกษาเด็กกรุงเทพ กับวิโรจน์” ณ Connect Space ชั้น 3 The Season Mall BTS สนามเป้า ภายในงานมีครู นักเรียน-นักศึกษา บุคลากรด้านการศึกษา บุคคลทั่วไป เข้าร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยถึงมุมมองด้านการศึกษาตลอดทั้งงาน
วงสนทนาเริ่มต้นขึ้นที่ “ครูจุ๊ย” กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักวิชาการการศึกษาและผู้อำนวยการมูลนิธิคณะก้าวหน้า ได้เริ่มต้นแสดงความเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาการศึกษาของนักเรียนในกรุงเทพมหานคร ว่า อยู่ในภาวะวิกฤต ยกปัญหา 3 ข้อ ได้แก่
ด้านครูทิว- ธนวรรธ์ ในฐานะครูที่อยู่ในระบบการศึกษา ได้ยกตัวอย่างสถานการณ์ของครู และการเรียนการสอนให้เห็นภาพใหญ่ของปัญหา คือ
- 1. โรงเรียนในสังกัดกทม. 400 กว่าโรงเรียน มีการดูแลผ่านสำนักงานเขต ครูทิวตั้งคำถามว่ามีเจ้าหน้าที่ดูแลพอหรือไม่
- 2. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และความโยงใยระหว่างครู เด็ก และ ครอบครัว ซึ่งครูทิวชี้ให้เห็นว่า คนกทม. มีทางเลือกมากมายในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ร.ร. กทม., ร.ร. สพฐ., ร.ร. เอกชน, ร.ร. นานาชาติ แต่ถ้าเด็กไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งในครอบครัว และโรงเรียนในระบบ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ โจทย์ใหญ่คือจะทำอย่างไรให้โรงเรียนมีการทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ให้เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดเวลา
ด้านวิโรจน์ ในฐานะผู้ติดตามประเด็นการศึกษามาอย่างยาวนาน และว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่จะต้องแก้ไขปัญหาการศึกษาของกทม.ได้ชูประเด็นเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มหลักต่อไปนี้
- 1.ตอบโจทย์พ่อแม่ นายวิโรจน์เสนอว่า พ่อแม่คนกทม. ต้องไปทำงานได้อย่างสบายใจ โดยกทม. ต้องสนับสนุน โรงเรียน ห้องสมุดชุมชน ต้องพร้อมให้บริการ child care หลังเลิกเรียน ตอบโจทย์พ่อแม่ที่ต้องทำงาน เพิ่มงบอาหาร เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะมีโภชนาการที่ดี และสำคัญที่สุด โรงเรียนในสังกัด กทม. ต้องเป็น bullying-free school “โรงเรียนปลอดบูลลี่” ที่ปราศจากการกลั่นแกล้งรังแกให้ได้ มีการจัดจ้างครูการศึกษาพิเศษ และนักจิตวิทยาเด็กเพิ่มเติม ถ้าสิทธิเด็กได้รับการคุ้มครอง ครูและเด็กเข้าอกเข้าใจกัน หน้าต่างของการเรียนรู้ก็จะเปิดกว้างขึ้น คุณภาพการเรียนการสอนก็จะดีขึ้น
- 2.ตอบโจทย์เด็ก นายวิโรจน์ระบุว่า คนกทม.ต้องการการศึกษา ที่เด็กสามารถคิดสร้างสรรค์ สามารถค้นหาตัวเอง มีโอกาสพัฒนาทักษะที่สำคัญ มีมนุษยสัมพันธ์ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สิ่งต่างๆเหล่านี้ ถ้าเด็กไม่มี “เวลา” ก็จะทำไม่ได้
- ถึงเวลาแล้วที่โรงเรียน กทม. จะเรียนให้น้อยลง ลดการสอบลง แล้วเปิดพื้นที่ในการร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ กทม. ในการพัฒนาทักษะอาชีพ และหน่วยงานอื่นๆ ในการพัฒนาทักษะการเงินส่วนบุคคล ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ทักษะการช่วยชีวิต ฯลฯ ให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่จำเป็นกับการใช้ชีวิต
- 3.ตอบโจทย์ครู นายวิโรจน์ ระบุว่าระบบการศึกษาของ กทม. ต้องให้โรงเรียนมีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน เช่น การสั่งซื้อหนังสือเรียน และสื่อการเรียนรู้ต่างๆ โดยตัดขั้นตอนเยิ่นเย้อ ที่ต้องผ่านเขตออก ให้มาที่สำนักการศึกษาได้โดยตรง และที่สำคัญครูจะต้องมี อำนาจในการจัดการเรียนการสอน
นายวิโรจน์ ยืนยันว่านโยบายการศึกษาเป็นนโยบายที่ตนให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น เพราะการลงทุนกับการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กๆ คือการลงทุนเพื่ออนาคตของชาติ และยังเป็นการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเมืองที่คนเท่ากันในระยะยาว โดยนโยบายการศึกษาจะเป็นหนึ่งใน 12 นโยบายหลักของทีมวิโรจน์ ที่จะเปิดตัววันที่ 27 มีนาคม 2565 นี้ด้วย