พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ศรภ. โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ระบุว่า..
ใครทำให้บิ้กตู่อยู่มาจนจะครบ8ปีแล้ว ไม่ใช่ตัวลุงตู่เองแน่นอน
การอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งท่ีผ่านไป พล.อ.ประยุทธ์กลายเป็นเป้าหมายหลัก ให้ฝ่ายค้านดาหน้าออกมาถล่มทุกวัน แต่ก็ไม่ระคายผิวครับ คุณโทนี่ เลยพลอยโดนหางเลขเหวี่ยงกลับให้สำลักเลือดเล่นด้วยผมจึงขอนำเรื่องเดิมๆมาเล่าให้ฟังอีกว่าทำไม พล.อ.ประยุทธ์ถึง
“อยู่ยงคงกระพัน” หนักหนา
◾️ ทหารนั้น เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นทหารส่วนใหญ่ แม้จะมีค่านิยมที่คล้ายคลึงกันในเรื่องการรัก ชาติ, ศาสน์, กษัตริย์ และประชาชนแต่เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีสมาชิกมากกว่า ๔ แสนคน จึงทำให้บุคลากรในองค์กรมีแนวความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมที่แต่ละคนประสบมา
ทหารเป็นองค์กรที่มีสถาบันการศึกษาของตัวเองและมีหลักสูตรเฉพาะทางในทุกขั้นตอนของการรับราชการ นอกจากนั้นนายทหารยังนิยมที่จะเพิ่มคุณวุฒิการศึกษาสายสามัญในระดับปริญญาโท ทางด้านสัมคมศึกษา(เป็นส่วนใหญ่) ซึ่งทำให้ผ่านการเรียนรู้และพูดคุยปัญหาทางการเมืองในชั้นเรียนมาแล้วในระดับหนึ่ง ดังนั้น “การเมืองจึงเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวทหารสักเท่าไร”
อย่างไรก็ตามไม่ว่าทหารจะมีแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างไร แต่ทหารทุกคนจะต้องมีความผูกพันกับแนวคิดสำคัญที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เริ่มเข้ารับราชการของเป็นทหารว่า 🔺การเมือง ต้องมีความสำคัญน้อยกว่าความมั่นคงของชาติ 🔻
ความมั่นคงแห่งชาติไทย คงไม่มีอะไรซับซ้อนเท่ากับของสหรัฐฯ แต่ก็ยังมีหลากหลายมิติ ซึ่งสรุปได้เป็นองค์ประกอบสำคัญอยู่ที่ (๑) รัฐต้องบังคับใช้กฎหมายต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน จึงจะได้รับความเคารพนับถือจากทหาร (๒) รัฐต้องไม่ทุจริต
(๓) ทุกองค์กรภาครัฐต้องทำตามหน้าที่ของตนให้ครบถ้วน
โดยทหารจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ถ้าไม่มีความเร่งด่วนอะไรเกิดขึ้น และ(๔) องค์ประกอบสำคัญคือ “ต้องการให้ความเคารพต่อพระมหากษัตริย์”ซึ่งทรงเป็นจอมทัพไทย
จากภารกิจและหลักนิยมดังกล่าว จึงทำให้ทหารแตกต่างกว่า ตำรวจและข้าราชการทั่วไป ที่ต้องทำงานรับใช้รัฐบาลและประชาชนตามหน้าที่ โดยทหารเป็นองค์กรของชาติ มีหน้าที่หลักในการปกป้องประเทศ รักษาเขตแดน อธิปไตย และรักษาความมั่นคงของประเทศ ในยามสงบ ทหารจึงไม่ใช่เครื่องมือของนักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศโดยตรง แต่ทหารจะ”สนับสนุนรัฐบาล” ในขอบเขตภารกิจทุกประการ ถ้ารัฐบาลบริหารประเทศอย่าง”ถูกต้องตามกฎหมาย” ทหารก็จะเข้าไปทำอะไรรัฐบาลไม่ได้เลย
ปัจจุบัน ก็มีหน่วยงานอีกหลายแห่งที่ไม่ใช่เครื่องมือของรัฐบาล
ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับทหาร เช่น อัยการ , ศาล และองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มักจะมีทิศทางการทำงานเข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน มากกว่าผลประโยชน์ของรัฐบาล
สรุป. ทหารอาชีพยังมีมากกว่า”ทหารรับจ้าง”มากมายนัก และลักษณะที่ทหารดีต้องมี ประกอบไปด้วย
๑. ต้องเห็นอิทธิพลทางการเมืองสำคัญน้อยกว่าเรื่องของประเทศชาติ ถ้าการเมืองผิด ต้องตักเตือน ถ้าผิดมาก ต้องออกมาแสดงท่าทีให้ชัดเจนว่า “ทหารจะไม่สนับสนุนบทบาททางของกลุ่มการเมือง
ดังกล่าว” เช่น กรณีรัฐบาลทุจริตเห็นได้ประจักษ์ การไม่ยอมรับฟังคำตัดสินของศาล และการทักท้วงของประชาชน ทหารก็ต้องออกมาให้ห่างรัฐบาล ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับทหารสนับสนุนการทุจริตด้วย
๒. การคุ้มครองประชาชน (อยู่ในคำมั่น ท่ีให้ไว้กับประชาชน เห็นได้ตามค่ายทหารทั่วไป) เมื่อประชาชนเกิดขัดแย้งกับรัฐบาล ปกติทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ไม่ว่าจะเรื่องอะไร ยกเว้นถ้าความขัดแย้งดังกล่าวรัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบปราม ในขณะที่การเคลื่อนไหวของประชาชนเหล่านั้น อยู่ในแนวทางสันติ แต่ถูกทำร้ายจากกลไกของรัฐ ติดต่อกัน ทหารท่ีดีก็ควรออกมาปกป้อง โดยพิจารณาจากการกระทำตามกฎหมายว่าใครถูก ก็สนับสนุน ใครผิด ก็ไม่ช่วยแค่นั้น (เช่น กรณีเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี ๕๒-๕๓ เมื่อศาลได้ระบุว่าเป็นการชุมนุมโดยผิดกฎหมาย และรุนแรงถึงขั้นทำลายการประชุมระหว่างประเทศ ทหารจึงออกมาทำหน้าที่ช่วยเหลือรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่การปกป้องรัฐบาล แต่เป็นการเข้ามาทำหน้าที่รักษาความสงบของชาติ)
๓. การพิทักษ์ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างจริงจัง ไม่คบหาสมาคมกับคนพวกที่เคลื่อนไหวกระทบต่อสถาบันฯ เพราะในหลวงทุกพระองค์มีสถานะผูกพันกับทหารมาแต่โบราณกาล ในฐานะที่เป็นองค์จอมทัพไทย ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
เมื่อมาดูสถานการณ์ ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์จะทำการรัฐประหาร
ในปี 2557นั้น นั้น จะเห็นได้ว่า เกิดเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมากมาย ทั้งเรื่องการทุจริตของรัฐบาล, การล่วงละเมิดสถาบันฯ, การไม่เคารพกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน
ต่อเนื่องกันมาเกือบ 2 ปี แต่ทหารก็ยังเฉย
เมื่อ นายกรัฐมนตรี ถูกถอดถอน มวลชนของผู้ชุมนุมทั้ง 2 ฝ่ายเตรียมพร้อมจะเข้าปะทะกันอยู่ตลอดเวลา เพราะอีกฝ่ายถูกโจมตีด้วยอาวุธสงครามอย่างต่อเนื่องรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความคิดที่จะป้องกันตัวเองของฝ่ายที่ถูกโจมตี ก็เกิดขึ้นมาบ้าง ซึ่งในกรณีปลายรัฐบาล
คุณยิ่งลักษณ์นั้น ศาลได้มีคำสั่งถอดถอน ทำให้คุณยิ่งลักษณ์ ไม่ได้เป็นนายกแล้ว ถือว่ารัฐบาลมีความผิดครบถ้วนแล้วทุกประการ ดังนั้นทหารที่ดีจึงต้องออกมาให้ห่างจากรัฐบาล และพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือประชาชน แต่การออกมาของทหารต้องมีขั้นตอน เพราะทหารเป็นองค์กรที่ใช้อาวุธเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เหมาะสม โดยหาทางไกล่เกลี่ยให้ได้ผลมากที่สุด ครั้งนั้นมี ทหารบางส่วน ที่ฝักใฝ่ฝ่ายรัฐบาล(ที่ผิดกฏหมาย)พยายามทำให้การไกล่เกลี่ยนั้น ล้มเหลว รวมถึง คุณ โทนี ด้วยเรื่องถึงบานปลายยาวมาถึงตอนนี้
แม้ว่า เงื่อนไขที่ทหารดีจะต้องออกมาสนับสนุนประชาชนนั้นครบถ้วนแล้ว ทหารก็ยังรออยู่อีก จนกระทั่ง พรรค ปชป.ไม่ยอมลงรับสมัครเลือกตั้ง ก็เท่ากับพรรค ปชป.ออกมายืนยันถึงความไม่ชอบธรรม ของรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ทหารก็ควรออกมาได้แล้ว แต่ พล.อ.ประยุทธ์ก็ยังคอยอยู่อีกนาน ผู้คนนับล้านในท้องถนน และตามบ้านเรือน (รวมทั้งตัวผมด้วย) ต่างพากันเรียกร้องและตำหนิ พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะ ผบ.ทบ ท่ีไม่ดูแลประชาชน ตามคำมั่นที่ติดไว้หน้าหน่วยทหาร นี่คือข้อเท็จจริง ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ประชาชนเอง เป็นฝ่ายยอมให้ พล.อ.ประยุทธ์อยู่มาเรื่อยๆ จนเกือบครบ 8 ปีแล้ว
ผมไม่อยากจะเดาเลยว่า เมื่อฝ่ายค้านเล่นการเมืองกันแบบนี้ ทั้งสนับสนุนเด็กออกมาก่อกวน ไม่คำนึงถึงผลกระทบจากโรคระบาด และวิกฤติการณ์อื่นๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เอาแต่สนุกสนาน ประดิษฐ์วาทะกรรม สร้างกระแสผิดๆเพี้ยนๆ คิดวิธีการเล่นที่เห็นว่า
“โก้” แต่ไร้วุฒิภาวะ มาแสดงออกทางการเมือง เห็นแล้วก็อนาถใจครับ ..บ้านเมืองเป็นอะไรไปแล้ว สามัญสำนึก ทำไมถึงบกพร่องกันปานนี้ เติบโตกันมาได้อย่าไร แล้วยังเรียกร้อง ขอมีส่วนในการบริหารประเทศ..
ถ้าทำแบบนี้ ลุงตู่ก็อยู่ต่อไปเรื่อยๆละกัน จนต้องคลานกันมาทำงานนั่นแหละครับ
พลโท นันทเดช / 24 กรกฎา 65