สร้าง”ดีเอ็นเอ”ให้นศ.เข้าถึงได้/ลดช่องว่าง/แชร์-เรียนรู้กัน
ศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การลดช่องว่างระหว่างอาจารย์และลูกศิษย์ จะทำให้นักศึกษาเข้าถึงได้ และไม่ใช่แค่ที่ปรึกษาในด้านวิชาการแต่จะต้องถ่ายทอดทักษะการใช้ชีวิตให้กับนักศึกษาได้อีกด้วย โดยอาจารย์และผู้บริหารจะเปลี่ยนแปลงตัวเองจากการเป็นโปรเฟสเซอร์ มาดนักวิชาการสู่การเป็น “พี่” ที่ปรึกษามากประสบการณ์ และทำให้คำว่า “ครู” ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสอน แต่ยังทำหน้าที่เป็นโค้ชที่ใกล้ชิดนักศึกษามากขึ้น ตอบโจทย์ 3ความต้องการนักศึกษายุคอัลฟ่า
ประกอบด้วย 1.ทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล สอนให้เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงของได้อย่างดี เช่น ทักษะแก้ไขปัญหา ทักษะด้านสื่อสาร ทักษะด้านใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ทักษะการอยู่ร่วมกัน เป็นต้น 2.สร้างดีเอ็นเอการเรียนรู้ที่เข้าใจในหัวใจผู้เรียน สิ่งสำคัญที่สจฃ. เริ่มปรับตัวให้เข้ากับนักศึกษายุคใหม่ คือ ยอมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาตัวเอง กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และทดลองทำในสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เป็น “โค้ช” ที่ดีทั้งด้านวิชาการและการใช้ชีวิต 3.เปิดพื้นที่ครีเอทีฟ ออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน อาจารย์ยุคใหม่ต้องเปิดพื้นที่ให้เด็กมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่พวกเขาต้องการจะเรียนรู้ เด็กๆ ต้องการการยอมรับในความคิดเห็นและการโต้ตอบที่พวกเข้าเขาถึงได้ จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์และเน้นการทำงานเป็นทีม ที่พร้อมด้วยทักษะด้านวิชาการและทักษะด้านการใช้ชีวิต
ทั้งนี้ สจล.ได้สร้างดีเอ็นเอให้กับครูยุคดิจิทัล พร้อมเปิดรับความเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้าหาเด็ก วางตัวเป็น “โค้ช” ไกด์แนวทาง ให้นักศึกษาได้ลงมือทดลองทำเอง ผ่านการดีไซน์ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยให้บรรยากาศการเรียนการสอนสามารถเข้าถึงได้อย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง
** อ่านต้นฉบับเต็มได้ที่ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ