เผยแพร่: ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ผลการศึกษาของ VMware Digital Frontier 3.0 พบว่า 36% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยเห็นตรงกันว่า รัฐบาลมอบประสบการณ์ดิจิทัลโดยรวมดีขึ้น แม้จะตามหลังประเทศกลุ่มอาเซียนซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 38% ด้านผู้บริโภคไว้วางใจกับการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (74%) เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (70%) และ 5G (81%) และเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นรากฐานสำคัญที่รัฐบาลจะนำไปพัฒนาประเทศ ขณะที่ครึ่งหนึ่ง (50%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า รัฐบาลมีหน้าที่เพิ่มระดับความรู้ด้านดิจิทัลให้กับประชาชน – เพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์
นายเอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำวีเอ็มแวร์ ประเทศไทย กล่าวว่าประเทศไทยอยู่บนเส้นทางสู่ความสำเร็จของการสร้างแผนฟื้นเศรษฐกิจและการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยใช้ประโยชน์จากความต้องการใช้บริการดิจิทัลของประชาชน อย่างไรก็ตามเพื่อเร่งการเติบโตและปลดล็อกโอกาสใหม่ ๆ ภาครัฐจำเป็นที่ต้องเล่นบทบาทที่สำคัญในการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้นแก่คนไทยไปพร้อมกับการผลักดันนวัตกรรมสำหรับอีโคซิสเต็มส์ในท้องถิ่น
“ในขณะที่เราก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจำต้องให้ความสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลต่อภาคธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นในบริการดิจิทัลของรัฐบาลในภาคประชาชนเป็นลำดับแรก เพื่อลดช่องว่างภายในประเทศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำหน้า เช่น การจดจำใบหน้าและปัญญาประดิษฐ์, ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศก้าวไปสู่ตำแหน่งที่ดีขึ้นในการส่งมอบประสบการณ์ดิจิทัลให้กับประชาชน จนนำไปสู่ยุค digital – first”
การสำรวจของบริษัท วีเอ็มแวร์ จำกัด พบว่าการมอบประสบการณ์ด้านดิจิทัลที่ดีและการยกระดับความรู้ด้านดิจิทัลให้กับประชาชนถือเป็นความจำเป็นหลักของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของไทยแลนด์ 4.0 จากผลการศึกษา VMware Digital Frontiers 3.0 เผยให้เห็นช่องว่างทางดิจิทัลระหว่างประชาชนและรัฐบาล พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 36% ที่ระบุว่ารัฐบาลได้มอบประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 30% เท่านั้นที่พอใจที่จะติดต่อสื่อสารกับรัฐบาลในช่องทางดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยให้ความไว้วางใจกับการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า (74%) เอไอหรือปัญญาประดิษฐ์ (70%) และ 5G (81%) มากขึ้น จึงเป็นโอกาสของภาครัฐที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีกลุ่มนี้เพื่อนำเสนอบริการดิจิทัลและสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนในยุคดิจิทัล พร้อมขับเคลื่อนประเทศไปสู่วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0
ผลการศึกษายังเผยว่า 86 % ของผู้บริโภคชาวไทยระบุว่าตนเอง “มีความใส่ใจในเรื่องดิจิทัล” หรือเป็น “นักสำรวจดิจิทัล” โดย 50 % ระบุว่าพวกเขาไว้วางใจรัฐบาลในการใช้อัลกอริทึมเพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและความต้องการส่วนบุคคล นอกจากนี้รายงานยังระบุข้อมูลที่น่าสนใจว่า ผู้บริโภคชาวไทยคาดหวังจะได้รับประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้นจากรัฐบาลซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนมากขึ้น
อีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจคือ ความเชื่อมั่น พบว่า 31% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความมั่นใจว่าภาครัฐสามารถดูแลข้อมูลและสารสนเทศของพวกเขาให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ (56%) มาเลเซีย (42%) ฟิลิปปินส์ ( 41%) และอินโดนีเซีย (33%) ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการดิจิทัลของรัฐบาลมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องเสริมสร้างรากฐานดิจิทัลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและปรับปรุงประสบการณ์ดิจิทัลที่ราบรื่นและปลอดภัยให้กับประชาชนของตนมากขึ้น
แม้จะมีการใช้บริการดิจิทัลอย่างแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อเทียบกับทั่วโลก แต่ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (50%) เชื่อว่าการยกระดับความรู้ดิจิทัลแก่ประชาชนเป็นหน้าที่ของรัฐ, 48% เชื่อว่าต้องผลักดันให้เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในแถบเอเชียตะวันเฉียงใต้ และทัดเทียมกับประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์ มีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 37 % เท่านั้นที่เชื่อมั่นในการยกระดับความรู้ดิจิทัลในระดับบุคคลของรัฐ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของทุกภาคส่วนในการเสริมสร้างความรู้ดิจิทัลให้กับผู้บริโภคชาวไทยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีเราได้เห็นหน่วยงานท้องถิ่นได้ตอบสนองต่อความคิดริเริ่มแบบองค์รวม ซึ่งรวมถึงแผนไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเพิ่มความรู้ดิจิทัล, สร้างจุดแข็ง และการต่อเชื่อมภายในประเทศ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่เหนือชั้นให้กับประชาชน
ที่สำคัญ เทคโนโลยีช่วยให้ภูมิภาคเอเชียมีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ COVID พิสูจน์ได้จากการเติบโตและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเป็นตัวขับเคลื่อนในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรัฐบาลต่างๆ ในภูมิภาคได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถเชื่อมต่อถึงกัน และนวัตกรรมร่วมกับอีโคซิสเต็มส์ ปี 2563 ที่ผ่านมาองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการตอบสนองและปรับตัวเพื่อให้แน่ใจว่ากับธุรกิจจะดำเนินต่อไปได้ท่ามกลางการแพร่ระบาด แต่ในปี 2564 นี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่นวัตกรรมกลายเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกสำหรับองค์กรที่เตรียมพร้อม เพื่อมองหาโอกาสการเติบโตในอนาคต
วิธีการจัดการแบบองค์รวมที่ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่เหนือชั้นบนทุกระบบคลาวด์ ทุกแอปพลิเคชัน และทุกอุปกรณ์ได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย จะกลายเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญในสภาพแวดล้อมดิจิทัลของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเอเชีย เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2564 วีเอ็มแวร์จึงได้จัดลำดับปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม และเน้นใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
“ในขณะที่ประเทศไทยเตรียมพร้อมสำหรับการฟื้นตัวและการเติบโตในปีหน้า ภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งของความเชื่อมั่นด้านดิจิทัล และก้าวไปสู่ความรู้ทางดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ วีเอ็มแวร์ จึงยังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้รัฐบาลและภาคธุรกิจเสริมสร้างรากฐานดิจิทัล ตอบสนอง และเร่งปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายในยุคดิจิทัลในปัจจุบันและอนาคตได้ดีขึ้น เราจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับนวัตกรรมบนอีโคซิสเต็มส์ เพื่อเร่งเส้นทางนวัตกรรมของประเทศไทยและเปลี่ยนเป็นประเทศดิจิทัลสำหรับประชาชนของเรา” นายเอกภาวิน กล่าวทิ้งท้าย