สุดตื้นตันอย่างหาที่สุดมิได้ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวง เสด็จฯจ.สุราษฎร์ถึง 15 ครั้ง แต่ละครั้งนำมาซึ่งความเจริญ-ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของราษฎร ทั้งพระราชทานโครงการพระราชดำริถึง 15 โครงการ โดยเฉพาะทรงพระราชทานนาม “ ราชภัฎ”
ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ในทุกวันที่ 5ธันวาคม ของทุกปี ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ เป็นวันสําคัญในการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวที น้อมรําลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จพระราช ดําเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ ตลอดถึงเยี่ยมเยียนราษฎร ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อรับทราบถึงปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรในถิ่นทุรกันดาร และเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีความเป็นอยู่ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สําหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทรงมีพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดําเนินถึง 15 ครั้ง นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2502 ถึงปีพุทธศักราช 2530 ซึ่งแต่ละครั้งที่ เสด็จฯได้นํามาซึ่งความเจริญของบ้านเมือง และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของ ราษฎร อาทิ พระราชทานรถแทรกเตอร์ในการบุกเบิกสร้างถนนให้กับอําเภอพระแสง ซึ่งในสมัยนั้นเส้นทางหลักในการสัญจรต้องอาศัยแม่น้ำลําคลอง เพียงอย่างเดียว ได้เสด็จฯเยี่ยมเพื่อเป็นขวัญกําลังใจแก่เจ้าหน้าที่ ทหาร ตํารวจ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และเสด็จฯทรง เปิดเขื่อนรัชชประภา ซึ่งเป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ ยังประโยชน์ทางด้านการชลประทานแก่ราษฎรในพื้นที่ เป็นต้น อีกทั้งยังพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดําริในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึง 15 โครงการ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชหฤทัยใส่ในด้านการศึกษา ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ในการก่อตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล โดยมีพระราชประสงค์เพื่อพระราชทานทุนแก่ นิสิต นักศึกษา ที่มีผลการเรียนดีเด่นในสาขาวิชาต่างๆ ให้ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้วิชาการชั้นสูงในต่างประเทศ และนําความรู้นั้นกลับมาใช้พัฒนาบ้านเมือง ทรงขยายพื้นที่ทางการศึกษาให้มีอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยกฐานะวิทยาลัยครูที่มีอยู่ทั่วประเทศ ขึ้นเป็นสถาบันราชภัฏ และเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏในปัจจุบัน ทรงพระราชทานนามอันเป็นมงคลยิ่งว่า “ราชภัฏ” ซึ่งมีนัยแห่งความหมายการเป็นคนของพระราชา เป็นข้าของแผ่นดิน ทั้งยังพระราชทานตราพระราชลัญจกรประจําพระองค์ ให้เป็นสัญลักษณ์ประจํามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ
** อ่านต้นฉบับเต็มได้ที่ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ