เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ต.ท.อนุรักษ์ จิรจิตร “รองเอ็ด” ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฎิบัติหน้าที่ ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม=นายชิงชัย ก่อประภากิจ “นายกเคี้ยง” อดีตสมาชิกวุฒิสภา(สว.)จังหวัดตากและอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ตาก หลายสมัย พร้อมคณะ ลงพื้นที่ประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการดิจิตอลชุมชน ในพื้นที่ชายขอบของโรงเรียน ตชด.ในพื้นที่ จ.ตาก และตรวจเยี่ยมโรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด ณ โรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด ต.ด่านแม่ละเมา อ.แม่สอด จ.ตาก โดยนายสวนิต สุริยกุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมด้วยนายสมชาย ไตรทิพย์ชาติสกุล นายอำเภอแม่สอด หัวหน้าส่วนราชการ และผู้เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ
โดยที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ประกอบด้วย การดำเนินงานโครงการดิจิตอลชุมชน ในปี 2565 ซึ่งแบ่งเป็น 3 หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ได้แก่ สพฐ. จำนวน 11 แห่ง , ตชด. จำนวน 19 แห่ง และกลุ่มศูนย์ดิจิทัล อีกจำนวน 3 แห่ง รวมจำนวน 33 แห่ง โดย “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” นั้น เป็นการบูรณการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างประชาชนกับรัฐเป็นช่องทางการรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านสื่อต่างๆ โดยเน้นการให้บริการและแนะนำการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ การทำงานเชิงรุกด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสร้างความแข็งแรงของประชาชน การเพิ่มรายได้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การขายสินค้าออนไลน์ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชน การรับงานไปทำที่บ้าน รวมถึงการสร้างงานลักษณะใหม่ๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล ฯลฯ
ขณะเดียวกัน ได้ติดตามการปฏิบัติงานด้านการช่วยเหลือเกษตรกรกระจายสินค้าในพื้นที่ และธุรกิจ E-commerce ของไปรษณีย์จังหวัดตาก , การดำเนินงานเกี่ยวกับการให้บริการอินเตอร์เน็ตในหมู่บ้านห้วยปลาหลด รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้พบปะชาวบ้านห้วยปลาหลด พร้อมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดำริ บ้านห้วยปลาหลด ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ทำการพัฒนาบุคลากรศูนย์ดิจิทัลชุมชน ทุกระดับ ชุมชน ซึ่งได้สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกบสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และร่วมกันจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน. ตำบล ครบทุกตำบลของประเทศ โดยสำนักงาน กศน. ได้สนับสนุนสถานที่ เครื่องมือ และบุคลากร ในขณะที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมสนับสนุนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และงบประมาณการพัฒนาบุคลากรและจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการค้าขายออนไลน์ โดยมีผู้ได้รับประโยชน์มากกว่า 400,000 คน ผ่าน ครู ก , ครู ข , ครู ค และวิทยากรชุมชนกว่า 10,000 คน ขยายขอบเขตการทำงานไปยังระดับหมู่บ้านผ่านโครงการ “เน็ตประชารัฐ” และยังเดินหน้างสร้างเครือข่ายพัฒนาศูนย์ดิจิทัลชุมชนร่วมกับพันธมิตรต่อไป เพื่อให้ประชาชนไทยมากกว่าร้อยละ 90 สามารถใช้ดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ตามแผนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้แน่ใจว่าไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง