-- advertisement --

วกส.4 ศึกษาดูงาน เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ยกเป็น ระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาคมอย่างยั่งยืน

ผู้บริหารมูลนิธิเกษตราธิการ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ผู้เข้ารับฝึกอบรมหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 4 ผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กว่า 120 ท่าน เข้าเรียนรู้ ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ณ สำนักงานใหญ่ EECi วังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2566

สืบเนื่องจากนโยบายรัฐบาลที่ได้กำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ที่มีนวัตกรรมเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งกำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต “โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรือ “อีอีซี” ได้ถูกริเริ่มขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าวโดยดำเนินการใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา

ดร.วุฒิ ด่านกิตติกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สายงานเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการศึกษาดูงาน และรับฟังการบรรยายและถาม-ตอบในหัวข้อ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก: โครงสร้างพื้นฐานนวัตกรรมเพื่อ สนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 บรรยายโดย ดร.เอมอร อิ่มเจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และการจัดการ สวทช.

จากนั้นคณะได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) ซึ่งเป็นการจะพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวและตอบสนองต่อบริบทโลกที่เปลี่ยนไปได้นั้น จำเป็นจะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมชั้นสูงที่เน้นใช้เทคโนโลยี

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่มีในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาระดับห้องปฏิบัติการและเทคโนโลยีที่มีในต่างประเทศนั้นก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที จำเป็นต้องเอามาปรับแปลงเทคโนโลยีขั้นสูง (Technology Localization) ให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและตลาดในประเทศและภูมิภาคก่อน

ทั้งนี้ เทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศมาสู่การใช้ประโยชน์จริงใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1. นวัตกรรมการเกษตร 2. ไบโอรีไฟเนอรี 3. แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงและการขนส่งสมัยใหม่ 4. ระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 5. เทคโนโลยีการบินและอากาศยานไร้นักบิน และ 6. เครื่องมือแพทย์บนพื้นที่กว่า 3,454 ไร่ ในวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในทุกภาคส่วน 

สำหรับ หลักสูตร วิทยาการเกษตร ระดับสูง (วกส.)” “Agriculture and Cooperatives Executive Program (ACE)” หลักสูตรเพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติด้วยวิทยาการเกษตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ภายใต้หลักการตลาดนำการผลิตและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความสมดุล มั่นคงและยั่งยืนโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพและสร้างผู้นำระดับสูงให้มีความรู้ ความสามารถ ด้านการพัฒนาการเกษตร รวมทั้งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิสัยทัศน์และประสบการณ์ ระหว่างผู้นำ ทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน ในรูปแบบ “ประชารัฐ” มุ่งสู่การเกษตรวิถีใหม่ การศึกษาดูงานของ วกส.4 นี้สามารถทำให้ผู้อบรมนำมาปรับใช้ได้

-- advertisement --